Le centre d'apprentissage du géoparc à l’école Thachangratbumroong
ศูนย์การเรียนรู้จีโอพาร์ค โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุง
Le site de fossiles le plus important de la rivière Mun se trouve dans le district de Chaloem Phra Kiat, au confluent de Lam Takhong et de la rivière Mun. Les genres les plus divers d’anciens éléphants ont été trouvés dans cette région (10 genres sur un total de 55 soit 18% des genres mondiaux), datant de 0,01 à 16 millions d'années. Ces anciens éléphants sont de genres : Gomphotherium, Prodeinotherium, Protanancus, Tetralophodon, Stegolophodon, Zygolophodon, Deinotherium, Sinomastodon, Stegodon et Elephas. Tous les détails sur ces anciens éléphants et sur la géographie de cette région sont exposés à l'école Thachangratbumroong, le premier centre d'apprentissage du géoparc de Nakhon Ratchasima. (Khoratgeopark. En ligne. 2020). L’image 4.7 illustre le Proboscidien à quatre défenses.
แหล่งฟอสซิลช้างลุ่มน้ำมูลที่สำคัญที่สุดคือแหล่งในอำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครราชสีมา ในพื้นที่ราบลุ่มบริเวณจุดบรรจบของลำตะคองกับแม่น้ำมูลที่เป็นสายหลักของภาคอีสาน โดยพบฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสายพันธุ์ที่สุดในโลกที่มีอายุอยู่ในช่วง 16 - 0.01 ล้านปีก่อน คือพบถึง 10 สกุล จาก 55 สกุลที่พบทั่วโลก (ร้อยละ 18) ได้แก่ ช้างสี่งา กอมโฟธีเรียม (Gomphotherium) ช้างงาจอบเล็กโปรไดโนธีเรียม (Prodeinotherium) ช้างงาเสียม โปรตานันคัส (Protanancus) เตตระโลโฟดอน (Tetralophodon) สเตโกโลโฟดอน (Stegolophodon) ไซโกโลโฟดอน (Zygolophodon) ช้างงาจอบใหญ่ไดโนธีเรียม (Deinotherium) ช้างสองงาไซโนมาสโตดอน (Sinomastodon) สเตโกดอน (Stegodon) และเอลิฟาส (Elephas) ดึกดำบรรพ์ รายละเอียดของช้างดังกล่าวรวมทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของพื้นที่มีการจัดแสดงเป็นนิทรรศการต่างๆในศูนย์การเรียนรู้จีโอพาร์คของนักเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุงซึ่งถือได้ว่าเป็นโรงเรียนจีโอพาร์คต้นแบบของจังหวัดนครราชสีมาแห่งแรก (อุทธยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563) รูปที่ 4.7 ช้างสี่งา
Image 4.7. Le Proboscidien à quatre défenses. (ภาพที่ 4.7 ช้างสี่งา)
Source : khoratgeopark. En ligne. 2020. (ที่มา: อุทยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563)
La fosse de sable « Phra Put » contenait d'anciens fossiles d'éléphants et d'animaux. Les fossiles étaient des rhinocéros, des hippopotames, des Acérathériums porpani, des chevaux hippariens, des girafes à cou court, des orangs-outans, des antilopes, des Chalicothères, des Merycopotamus, des anciens buffles, des tigres à dents de sabre, des hyènes et des tortues géantes. Il y avait aussi des bois pétrifiés et différents types de roches. Cette fosse est l’une des 12 fosses de sable trouvées à Chaloem Phra Kiat. Dans cette fosse de sable, nous pouvons en apprendre davantage sur différents types de sédiments et de couches de roches, ainsi que sur les bois pétrifiés et les fossiles d'animaux. La fosse de sable couvre la zone d'environ 13,5 acres sur un total de 94,5 acres avec une profondeur de 15 mètres. Les fossiles ont été donnés par des propriétaires d'entreprises d'excavation de sable, par des temples ou d'autres particuliers qui possédaient les spécimens avant la construction du musée en 2017. Ces fossiles sont du bois pétrifié, des fossiles de fruits et de bois, mais aussi des animaux : Stégolophodon, Stégodon, Sinomastodon, rhinocéros, hippopotames, Bovidés, Cervidés, tortues et alligators. (L’école Thachangratbumroong. En ligne. 2020). L’image 4.8 illustre la fosse de sable.
บ่อทรายพระพุทธ คือแหล่งที่พบซากของช้างโบราณและสัตว์ร่วมยุคอื่น ๆ เช่น แรด ฮิปโป ยีราฟคอสั้น ม้าสามนิ้วฮิปปาเรียน อุรังอุตัง กวางแอนติโลป ชาลิโคแธร์ หมูใหญ่เมอริโคโปเตมัส ควายโบราณ เสือเขี้ยวดาบ ไฮยีนา ตะโขง เต่ายักษ์รวมทั้งไม้กลายเป็นหินและถ่านหินต่าง ๆ มีการสะสมทับถมของตะกอนดินเหนียว ทรายแป้ง ทราย และกรวดขนาดต่าง ๆ มากมาย ในส่วนของบ่อทรายพระพุทธ ซึ่งเป็น1ใน 12 บ่อทรายของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงที่มีการไหลเปลี่ยนทิศทางโค้งตวัดและได้ทิ้งตะกอนนี้ทับถมกันไว้เป็นเวลานาน มาที่บ่อทรายเราจะได้เรียนรู้ลำดับชั้นของตะกอน ร่องรอยไม้กลายเป็นหิน และอาจพบฟอสซิลของสัตว์อื่น ๆได้ บ่อทรายมีเนื้อที่ 34 ไร่ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 239 ไร่ ลึกไม่ต่ำกว่า 15 เมตร ตั้งอยู่ในเขตบ้านพระพุทธ ตำบลพระพุทธ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ นครราชสีมา เจ้าของบ่อทราย คือ นายศิรชัย ปราชญ์ศรีภูมิ ทำธุรกิจดูดทราย ต่อจากเจ้าของธุรกิจเดิม ตั้งแต่ปลายปี 2560 เพื่อจำหน่ายทรายเป็นวัสดุก่อสร้าง นอกจากทรายซึ่งเป็นวัสดุส่วนใหญ่แล้ว ภายในบ่อยังพบฟอสซิลไม้ ผลไม้ ไม้กลายเป็นหิน ช้างสเตโกโลโฟดอน ช้างสเตโกดอน ช้างไซโนมาสโตดอน แรด ฮิปโปโปเตมัส สัตว์วงศ์วัว วงศ์กวาง เต่า จระเข้ (โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุง ออนไลน์ ปี 2563) รูปที่ 4.8 บ่อทราย
Image 4.8. La fosse de sable. (ภาพที่ 4.8 บ่อทราย)
Source : L'école Thachangratbumroong. En ligne. 2020. (ที่มา: โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุง ออนไลน์ ปี 2563)