旅游汉语 呵叻地质公园



地质公园学习中心 踏昌拉德巴隆学校
ศูนย์การเรียนรู้จีโอพาร์ค โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุง

           远古大象化石景区是呵叻府差隆帕恰县内重要的景点,在接近东北重要河流门河与塔孔河交汇处的低地,发现了许10种远古大象化石,距今约1万至1万6000年。大象化石种类占世界之最。全世界共有55种,而该处大象化石约占18%,具体种属如下:嵌齿象Gomphotherium;小锄齿象Prodeinotherium;铲齿象Protanancus、Tetralophodon、Stegolophodon、Zygolophodon;大锄齿象Deinotherium;两颗象牙的Sinomastodon、Stegodon、和Elephas。踏昌拉德巴隆学校地质公园学习中心有专门的展览,详细介绍上述各种大象及发现地的地理、历史,可以视为呵叻府第一所地质学校。(呵叻地质公园网站2020) 图4.7四齿象

           แหล่งฟอสซิลช้างลุ่มน้ำมูลที่สำคัญที่สุดคือแหล่งในอำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครราชสีมา ในพื้นที่ราบลุ่มบริเวณจุดบรรจบของลำตะคองกับแม่น้ำมูลที่เป็นสายหลักของภาคอีสาน โดยพบฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสายพันธุ์ที่สุดในโลกที่มีอายุอยู่ในช่วง 16 - 0.01 ล้านปีก่อน คือพบถึง 10 สกุล จาก 55 สกุลที่พบทั่วโลก (ร้อยละ 18) ได้แก่ ช้างสี่งา กอมโฟธีเรียม (Gomphotherium) ช้างงาจอบเล็กโปรไดโนธีเรียม (Prodeinotherium) ช้างงาเสียม โปรตานันคัส (Protanancus) เตตระโลโฟดอน (Tetralophodon) สเตโกโลโฟดอน (Stegolophodon) ไซโกโลโฟดอน (Zygolophodon) ช้างงาจอบใหญ่ไดโนธีเรียม (Deinotherium) ช้างสองงาไซโนมาสโตดอน (Sinomastodon) สเตโกดอน (Stegodon) และเอลิฟาส (Elephas) ดึกดำบรรพ์ รายละเอียดของช้างดังกล่าวรวมทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของพื้นที่มีการจัดแสดงเป็นนิทรรศการต่างๆในศูนย์การเรียนรู้จีโอพาร์คของนักเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุงซึ่งถือได้ว่าเป็นโรงเรียนจีโอพาร์คต้นแบบของจังหวัดนครราชสีมาแห่งแรก (อุทธยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563) รูปที่ 4.7 ช้างสี่งา


图4.7四齿象 ภาพที่ 4.7 ช้างสี่งา
来源: 呵叻地质公园网站2020 ที่มา: อุทยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563

           帕普特沙厂发现了远古大象化石和许多动物化石,例如:犀牛、河马、短脖长颈鹿、三趾马、大猩猩、羚羊鹿、Chalicothair、大猪、Merycopotamus、古代水牛、剑齿虎、巨龟等等。在此还发现了木化石和多种碳矿石,由粘土、粉砂岩、砂岩、大小不一的砾石长期积淀形成。帕普特沙场是差隆帕恰县12沙场之一,据推测此处沙池是由于地势低,洪水来袭时各种河流冲积物积累在此并长期沉淀而成。来该沙场参观不仅可以学习地质岩层知识、木化石知识,还可能发现其他动物化石。此沙场面积34莱,总厂地239莱,沙池深至少15米,位于呵叻府差隆帕恰县帕普特镇帕普特村。沙场的主人名叫星猜.巴斯普米,2560年底从前任厂主处买来经营该沙场。除了沙子之外,沙场的宝贵资源还包括沙场里的木化石、水果化石、Stegolophodon、 Stegodon和Sinomastodon大象化石、犀牛、河马、牛、鹿、龟、鳄鱼等动物化石。(踏昌县拉德巴隆学校网站2020)图4.8沙厂
           บ่อทรายพระพุทธ คือแหล่งที่พบซากของช้างโบราณและสัตว์ร่วมยุคอื่น ๆ เช่น แรด ฮิปโป ยีราฟคอสั้น ม้าสามนิ้วฮิปปาเรียน อุรังอุตัง กวางแอนติโลป ชาลิโคแธร์ หมูใหญ่ เมอริโคโป เตมัส ควายโบราณ เสือเขี้ยวดาบ ไฮยีนา ตะโขง เต่ายักษ์รวมทั้งไม้กลายเป็นหินและถ่านหินต่าง ๆ มีการสะสมทับถมของตะกอนดินเหนียว ทรายแป้ง ทราย และกรวดขนาดต่าง ๆ มากมาย ในส่วนของบ่อทรายพระพุทธ ซึ่งเป็น1ใน 12 บ่อทรายของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ สันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้เป็นที่ราบน้ำท่วมถึงที่มีการไหลเปลี่ยนทิศทางโค้งตวัดและได้ทิ้งตะกอนนี้ทับถมกันไว้เป็นเวลานาน มาที่บ่อทรายเราจะได้เรียนรู้ลำดับชั้นของตะกอน ร่องรอยไม้กลายเป็นหิน และอาจพบฟอสซิลของสัตว์อื่น ๆได้ บ่อทรายมีเนื้อที่ 34 ไร่ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 239 ไร่ ลึกไม่ต่ำกว่า 15 เมตร ตั้งอยู่ในเขตบ้านพระพุทธ ตำบลพระพุทธ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ นครราชสีมา เจ้าของบ่อทราย คือ นายศิรชัย ปราชญ์ศรีภูมิ ทำธุรกิจดูดทราย ต่อจากเจ้าของธุรกิจเดิม ตั้งแต่ปลายปี 2560 เพื่อจำหน่ายทรายเป็นวัสดุก่อสร้าง นอกจากทรายซึ่งเป็นวัสดุส่วนใหญ่แล้ว ภายในบ่อยังพบฟอสซิลไม้ ผลไม้ ไม้กลายเป็นหิน ช้างสเตโกโลโฟดอน ช้างสเตโกดอน ช้างไซโนมาสโตดอน แรด ฮิปโปโปเตมัส สัตว์วงศ์วัว วงศ์กวาง เต่า จระเข้ ฯลฯ (โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุง ออนไลน์ ปี 2563) รูปที่ 4.8 บ่อทราย


图4.8沙厂 ภาพที่ 4.8 บ่อทราย
来源:踏昌县拉德巴隆学校。网站,2020 ที่มา: โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุง ออนไลน์ ปี 2563