Français POUR LE GÉOTOURISME au Géoparc de Khorat



Le musée de Korat
พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

           Le musée de Korat est administré par le centre des arts et de la culture de l'université de Rajabhat Nakhon Ratchasima. Le but est d'être une source intégrée de connaissances concernant le développement de l'histoire, des arts et de la culture de la province de Nakhon Ratchasima afin que les habitants de Khorat puissent apprendre et ressentir de la fierté. Le musée propose des services d'études et d'excursions touristiques. Le musée dispose de 7 salles d'expositions : la salle d'origine de la civilisation, la salle de la période de Dvaravati, la salle de la période de Lopburi, la salle de la période d’Ayutthaya, la salle de la période de Rattanokosin, la salle de la métropole d'Isan, la salle des spécialités de Khorat et la maison de Korat. Il est situé dans le bâtiment 10 de l'université de Rajabhat Nakhon Ratchasima. Il est ouvert tous les jours de 9h00 à 15h30. (Musée de Korat. En ligne, 2020).
           พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาภายใต้การดูแลของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมามีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่ประกอบด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ศิลปะและวัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมาที่เกี่ยวข้องกับความภูมิใจของชาวโคราช พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ ลักษณะการจัดแสดงได้จัดเรียงเนื้อหาตามหลักประวัติศาสตร์ศิลปะ โดยศึกษาจากหลักฐานทางด้านศิลปกรรมที่พบในเขตจังหวัดนครราชสีมา ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม โดยเรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา แบ่งออกเป็น 7 ห้อง ดังนี้ ห้องต้นกำเนิดอารยธรรม ห้องสมัยทวารวดี ห้องสมัยลพบุรี ห้องสมัยอยุธยา ห้องสมัยรัตนโกสินทร์ ห้องมหานครแห่งอีสาน ห้องของดีเมืองโคราช และเรือนโคราช พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาตั้งอยู่ที่อาคาร 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เปิดทำการทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-15.30 (พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. ปี 2563)

La salle d'origine de la civilisation
   ห้องต้นกำเนิดอารยธรรม

           La salle d’origine de la civilisation présente l’histoire de l’époque préhistorique. Les religions et les langues n’existaient pas à cette période, par conséquent il n’y a pas eu de mémoires ou d’annales. Le procédé archéologique de préférence utilisé pour étudier la société dans le passé est l’étude des tombes et des peintures murales. Les objets découverts dans les tombes reflètent la société dans laquelle les gens vivaient à l’époque préhistorique. Chaque corps de défunt enterré peut révèler son statut, ainsi que l’époque où il vivait. L'image 2.3 illustre la salle d'origine de la civilisation.

           จัดแสดงเนื้อหาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคที่ยังไม่มีศาสนาและภาษา จึงยังไม่มีบันทึก หรือพงศาวดารใด ๆ การศึกษาถึงสังคมในอดีตจึงนิยมใช้กระบวนการทางโบราณคดี โดยทำการการศึกษาจากหลุมศพ และภาพเขียนสีตามผนังถ้ำ ซึ่งวัตถุที่พบร่วมกับหลุมศพ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสังคมของผู้คนเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ลักษณะการฝังศพแต่ละศพอาจบ่งบอกถึงสถานะของผู้ตายเมื่อครั้งยังมีชีวิต รูปที่ 2.3 ภาพประกอบ ห้องต้นกำเนิดอารยธรรม






Image 2.3. La salle de l'origine de la civilisation. (รูปที่ 2.3 ห้องต้นกำเนิดอารยธรรม)
Source: Musée de Korat. En ligne, 2020. (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)

La salle de la période de Dvaravati
   ห้องสมัยทวารวดี


Image 2.4. La salle de la période de Dvaravati. (รูปที่ 2.4 ห้องสมัยทวาราวดี)
Source: Musée de Korat. En ligne, 2020. (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)





           La salle de la période de Dvaravati présente l’histoire du XIIe siècle. Les preuves de l’ancienne communauté depuis la période primitive jusqu’à la période de Dvaravati ont été découvertes à Mueng Sema, aujourd’hui district de Sung Noen. On pense que le centre de la culture de Dvaravati était situé dans la plaine centrale de la Thaïlande. On présume que la culture s’est répandue à travers la diffusion du bouddhisme, ce qui a permis de changer beaucoup de choses. Autrefois, la religion n’existait pas mais elle a par la suite été pratiquée (notamment le bouddhisme). Des sculptures religieuses liées au bouddhisme ont été retrouvées. L'image 2.4 illustre la salle de la période de Dvaravati.

           นำเสนอเนื้อหาในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ที่ปรากฏหลักฐานของชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์แรกเริ่มต่อเนื่องจนถึงในสมัยทวารวดีมีหลักฐานความเป็นเมือง ณ เมืองเสมา (พื้นที่อำเภอสูงเนินในปัจจุบัน) เชื่อกันว่าวัฒนธรรมทวารวดีมีศูนย์กลางอยู่ในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางของไทย สันนิษฐานคงจะแพร่หลายผ่านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จากเดิมที่ไม่มีการนับถือศาสนา มาเป็นบ้านเมืองที่ยอมรับนับถือศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนา และสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเนื่องในศาสนาขึ้นเป็นจำนวนมาก รูปที่ 2.4 ภาพประกอบ ห้องสมัยทวารวดี

La salle de la période de Lopburi
   ห้องสมัยลพบุรี

           La salle de la période de Lopburi expose l’histoire des XVIe aux XIXe siècles. À cette période, la culture khmère a influencé la région du nord-est de la Thaïlande. Cela a impliqué des changements importants. En effet, l’art, la culture et les croyances de l’hindouisme se combinent avec le bouddhisme mahayana. Cela se reflète par la construction de sites archéologiques importants influencés par la culture khmère. Par exemple, le plan carré de la ville, la construction des grands réservoirs, les grands sanctuaires religieux, les poteries khmères, ect. L'image 2.5 illustre la salle de la période de Lopburi.

           นำเสนอเนื้อหาในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-19 ช่วงที่วัฒนธรรมขอมได้แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย ส่งผลต่อความความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศิลปกรรมและวัฒนธรรมทางความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาฮินดูผสมผสานกับศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน ซึ่งสะท้อนอยู่ในโบราณสถานที่ได้รับแบบอย่างจากวัฒนธรรมขอมที่สำคัญ ได้แก่ แบบแผนการสร้างเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ศาสนสถานขนาดใหญ่ในรูปแบบปราสาทหิน เครื่องปั้นดินเผาแบบขอม เป็นต้น รูปที่ 2.5 ภาพประกอบ ห้องสมัยลพบุรี






Image 2.5. La salle de la période de Lopburi. (รูปที่ 2.5 ห้องสมัยลพบุรี)
Source: Musée de Korat. En ligne, 2020. (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)

La salle de la période d’Ayutthaya
   ห้องสมัยอยุธยา


Image 2.6. La salle de la période d’Ayutthaya. (รูปที่ 2.6 ห้องสมัยอยุธยา)
Source: Musée de Korat. En ligne, 2020. (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)





           La salle de la période d’Ayutthaya présente l’histoire à la période pendant laquelle Ayutthaya était la capitale. Le Grand Roi Narai a ordonné la relocalisation de la ville dans le sous-district de Korat. (L’ancienne ville était située dans le district de Sung Noen). La nouvelle ville a été construite sur le site actuel. Un architecte français a conçu le plan de la ville avec des murs et des citadelles de styles occidentaux. Les temples ont été construits dans différentes directions à l’intérieur de la ville sous le règne du Grand Roi Narai, tels que le temple Klang, le temple Boon, le temple Esan, le temple Phayap, le temple Sra Kaew et le temple Beung. Ces temples représentent le style architectural de la période d’Ayutthaya. L’image 2.6 illustre la salle de la période d’Ayutthaya.

           นำเสนอเนื้อหาในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้ย้ายเมืองโคราชเดิม (อำเภอสูงเนินในปัจจุบัน) มาตั้ง ณ สถานที่ปัจจุบัน โดยให้ช่างชาวฝรั่งเศสออกแบบเมืองที่มีกำแพงและป้อมปราการแบบตะวันตก และ ให้สร้างวัดประจำทิศต่างๆ ภายในเขตกำแพงเมือง ได้แก่ วัดกลางนคร วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดสระแก้ว และวัดบึง ซึ่งวัดเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังคงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมตามแบบกรุงศรีอยุธยา รูปที่ 2.6 ภาพประกอบ ห้องสมัยอยุธยา

La salle de la période de Rattanakosin
   ห้องสมัยรัตนโกสินทร์

           La salle de la période de Rattanakosin expose l’histoire à l’époque de Rattanakosin. L’événement important s’est passé sous le règne du Roi Rama III, il s’agit de l’intrépidité de Thao Suranaree (Madame Mo) à Tung Samrit. En outre, les objets d’art, héritage de la grand-mère Yeesun Krairerk comprenant les anciens documents, les outils et les objets des nobles et des commerçants riches, sont présentés dans cette salle. Chaque objet est âgé de plus de 100 ans. L'image 2.7 illustre la salle de la période Rattanakosin.

           นำเสนอในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ และนอกจากนี้ยังได้นำเสนอศิลปวัตถุอันเป็นมรดกจากตึกดินของ คุณยายยี่สุ่น ไกรฤกษ์ ประกอบด้วย เอกสารโบราณ เครื่องมือเครื่องใช้ของขุนนางและคหบดีที่หลายชิ้นมีอายุไม่ต่ำว่า 100 ปี รูปที่ 2.7 ภาพประกอบ ห้องสมัยรัตนโกสินทร์






Image 2.7. La salle de la période de Rattanakosin. (รูปที่ 2.7 ห้องสมัยรัตนโกสินทร์)
Source: Musée de Korat. En ligne, 2020. (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)

La salle de la métropole d’Esan
   ห้องมหานครแห่งอีสาน


Image 2.8. La salle de la métropole d'Esan. (รูปที่ 2.8 ห้องมหานครแห่งอีสาน)
Source: Musée de Korat. En ligne, 2020. (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)





           La salle de métropole d’Esan présente l’histoire sous le règne du Roi Rama V. C’était la période de la forte et influente colonisation de l’Occident qui a menacé la sécurité nationale à travers la région du nord-est de la Thaïlande. La province de Nakhon Ratchasima est devenue une base militaire stratégique. De plus, cette ville est un exemple d’acceptation harmonieuse du pouvoir du gouvernement central entre les gens de Bangkok et d’Esan dans la société et la culture. L’image 2.8 illustre la salle de la métropole d'Esan.

           นำเสนอเนื้อหาในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่มหาอำนาจตะวันตกกำลังดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ เมืองนครราชสีมาเป็นแหล่งยุทธศาสตร์ทางทหาร ยิ่งไปกว่านั้นนครราชสีมายังเป็นตัวอย่างของการยอมรับอำนาจของรัฐบาลกลางได้อย่างผสมกลมกลืนกันในทางสังคมและทางวัฒนธรรมของชาวกรุงเทพฯและชาวอีสานอีกด้วย รูปที่ 2.8 ภาพประกอบ ห้องมหานครแห่งอีสาน

La salle des spécialités de Khorat
   ห้องของดีโคราช

           La salle des spécialités de Khorat est réservée pour l’exposition semi-temporaire. On y expose du contenu intéressant sur les spécialités et coutumes de Khorat, ainsi que des extraits de devises anciennes et actuelles afin de les faire connaître aux nouvelles générations. Aussi, sont présentées des traditions célèbres du passé telles que la boxe de Khorat, la soie de Hang-krarok, les véhicules à trois roues, le chat de Khorat et les chansons de Khorat. L’image 2.9 illustre la salle des spécialités de Khorat.

           ส่วนนี้เป็นส่วนที่ออกแบบไว้เพื่อรองรับการจัดนิทรรศการกึ่งหมุนเวียน โดยได้คัดเลือกเนื้อหาที่เป็นของดีเมืองโคราช ทั้งจากคำขวัญในอดีต-คำขวัญปัจจุบัน และที่ไม่ได้อยู่นำคำขวัญ เพื่อนำเสนอให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รู้จักว่า โคราชมีของดีอีกมากมายที่ได้รับการกล่าวขวัญในอดีต ทั้งมวยโคราช ผ้าหางกระรอก รถสามล้อ แมวโคราช และเพลงโคราช รูปที่ 2.9 ภาพประกอบ ห้องของดีโคราช






Image 2.9. La salle des spécialités de Khorat. (รูปที่ 2.9 ห้องของดีโคราช)
Source: Musée de Korat. En ligne, 2020. (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)

La maison de Korat เรือนโคราช   เรือนโคราช

           La maison de Korat a été construite par l’association d’anciens élèves de l’école supérieure des enseignants, du collège des enseignants, de l’institut et de l’université de Rajabhat Nakhon Ratchasima. Le projet a été dirigé par le docteur Nichet Suntornphitak, ancien étudiant et professeur. Il s’est rendu compte de l’importance du mode de culture de Khorat qui a peu à peu disparu avec l’influence de la modernité. Donc, il a persuadé les anciens élèves de réaliser la maison de Korat et a demandé à l’université de Rajabhat Nakhon Ratchasima de contribuer afin d’être une source de connaissances sur le mode de vie des gens de Khorat. (Le Bureau des Arts et de la Culture, Université de Rajabhat Nakhon Ratchasima, 2018). L'image 2.10 illustre la maison de Korat.
           เรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดสร้างโดยคณะศิษย์เก่า โรงเรียนฝึกหัดครู วิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำโดย ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ ซึ่งท่านเป็นทั้งศิษย์เก่าและอาจารย์เก่าของโรงเรียนฝึกหัดครู และวิทยาลัยครูนครราชสีมา ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของวิถีวัฒนธรรมแบบโคราชซึ่งนับวันจะสูญหายไปอย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลของความเจริญสมัยใหม่ จึงดำริชักชวนคณะศิษย์เก่าจัดสร้างเรือนโคราชมอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของคนโคราช (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2018). รูปที่ 2.10 ภาพประกอบ เรือนโคราช


Image 2.10. La maison de Korat. (รูปที่ 2.10 เรือนโคราช)
Source: Musée de Korat. En ligne, 2020. (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)