Français POUR LE GÉOTOURISME au Géoparc de Khorat



La porte de Chumphon ประตูชุมพล


Image 2.2. Porte de Chumphon. (รูปที่ 2.2 ประตูเมืองชุมพล)
Source: Ministère du tourisme et des sports. En ligne, 2020. (ที่มา: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ออนไลน์ ปี 2563)

           La porte de Chumphon est située derrière le monument de Thao Suranaree. Les croyances et légendes disent que si on passe par la porte de Chumphon une fois on reviendra à Khorat, deux fois on y travaillera ou s’y installera, trois fois on y rencontrera l’homme ou la femme de sa vie et cette personne sera originaire de Khorat. Les quatres portes ont été construites afin de résister aux invasions des ennemis sous le règne du Grand Roi Narai. À présent, la porte de Chumphon est la seule des quatre portes originales avec l’ancien rempart. Les trois autres ont été reconstruites. Unique vestige d’une des quatre portes, la porte de Chumphon est surmontée d’une tour de guet en bois dotée d’un toit en tuiles et décorée dans le style thaï. Cette tour servait à commander la bataille. Les murs de la ville de chaque côté de la porte sont surmontés des bornes de marquage sacré de temple. Il y a aussi des troux en forme de croix au dessous des bornes de marquage afin d’observer les ennemis. Les quatre portes sont de style Ayutthaya avec des toits couverts de tuiles en argile et décorés avec les Chorfah et les Bai-rakaa.
           La porte de Chumphon se situe à l’ouest de l’ancienne ville. Le Grand Roi Narai a ordonné la construction de Nakhon Ratchasima comme ville d’avant-poste en 1656 au début de son reigne. Il a ordonné aussi la construction des portes et des murs de la ville pour se protéger contre les attaques des troupes des Khmers, des Yuans et des Lao. Les artisans d’Ayutthaya, les ouvriers de Khorat et de Sema ont bâti les portes et les remparts de la ville. Le plan de la ville a été conçu par un architecte français. (Ministère du tourisme et des sports. En ligne, 2020). L'image 2.2 illustre la porte de Chumphon.

           ประตูชุมพลตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สำหรับประตูชุมพลนั้นมีความเชื่อว่าหากลอดประตูนี้ 1 ครั้ง จะได้กลับมาโคราชอีกในไม่ช้า ถ้าลอด 2 ครั้งจะได้ทำงานหรือมาอยู่ที่โคราช แต่ถ้าลอดถึง 3 ครั้งก็จะได้คู่ครองเป็นคนโคราช ซึ่งแต่เดิมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้สร้างประตูเมืองขึ้นมาทั้งสี่ด้านโดยจะใช้เป็นเกราะป้องกันข้าศึก แต่ปัจจุบันได้เหลือเพียงประตูชุมพลเพียงแค่ด้านเดียวที่ยังคงสภาพพร้อมกับกำแพงเมืองเก่า ในส่วนอีกสามประตูได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ สำหรับความพิเศษของประตูชุมพล คือ ตรงเหนือช่องประตู จะมีเรือนไม้หลังเล็ก ๆ เป็นเรือนแบบไทยมีหลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา เรียกว่า “หอรบ” เอาไว้สำหรับบัญชาการรบ ส่วนของกำแพงที่ต่อไปทั้งสองข้างส่วนบน ทำเป็นรูปใบเสมา ใต้ใบเสมาเจาะช่องเป็นรูปกากบาท เพื่อใช้ลอบดูข้าศึก ประตูทั้ง 4 มีรูปแบบเป็นศิลปะสมัยอยุธยา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา และมีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันทุกแห่ง
           ประตูชุมพลเป็นประตูเมืองทางทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อ ปี 2199 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา และโปรดเกล้าฯให้สร้างกำแพงประตูเมืองอย่างแข็งแรง เพื่อป้องกันการรุกรานจาก เขมร ญวน ลาว โดยเกณฑ์ช่างจากกรุงศรีอยุธยา เกณฑ์แรงงานจากเมืองโคราชและเมืองเสมาช่วยกันสร้างขึ้น ซึ่งในขณะนั้นมีนายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบและวางผังเมืองให้ (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ออนไลน์. ปี 2563) รูปที่ 2.2 ภาพประกอบ ประตูเมืองชุมพล