ENGLISH FOR GEOTOURISM at Khorat Geopark



Korat Museum
พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

           The museum of arts and culture in Nakhon Ratchasima Province, administered by the Arts & Culture Center of Nakhon Ratchasima Rajabhat University, with the goal of being a source of integrated knowledge concerning the development of history, arts, culture in Nakhon Ratchasima Province to allow the people of Khorat can learn and feel pride. The museum has been providing services for study and travel excursions. The museum has 7 exhibition rooms: the room of the origin of civilization; the room of the Dvaravati period; the room of the Lopburi period; the room of the Ayutthaya period; the room of the Rattanokosin period; the room of the metropolis of Esarn; and the room of good things of Khorat. In addition, there is a learning and practice center nearby, namely, the Korat House, the culture lawn, and the dharma lawn. It is located at Building 10 Nakhon Ratchasima Rajabhat University. It opens every day from 9.00-15.30 (Korat Museum. Online. 2020).
           พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาภายใต้การดูแลของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่ประกอบด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมาที่เกี่ยวข้องกับความภูมิใจของชาวโคราช พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ ลักษณะการจัดแสดงได้จัดเรียงเนื้อหาตามหลักประวัติศาสตร์ศิลปะ โดยศึกษาจากหลักฐานทางด้านศิลปกรรมที่พบในเขตจังหวัดนครราชสีมา ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม โดยเรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา แบ่งออกเป็น 7 ห้อง ดังนี้ ห้องต้นกำเนิดอารยธรรม ห้องสมัยทวารวดี ห้องสมัยลพบุรี ห้องสมัยอยุธยา ห้องสมัยรัตนโกสินทร์ ห้องมหานครแห่งอีสาน ห้องของดีเมืองโคราช และเรือนโคราช พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาตั้งอยู่ที่อาคาร 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เปิดทำการทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-15.30 (Korat Museum. Online. 2020)

The room of the origin of civilization
   ห้องต้นกำเนิดอารยธรรม

           The room of the origin of civilization exhibits pre-historic events. There were no documents so archeological evidence were used. This included evidence from tomb, cave’s painting presenting people in the past. Picture 2.3 Illustrates the room of the origin of civilization.

           จัดแสดงเนื้อหาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคที่ยังไม่มีศาสนาและภาษา จึงยังไม่มีบันทึก หรือพงศาวดารใดๆ การศึกษาถึงสังคมในอดีตจึงนิยมใช้กระบวนการทางโบราณคดี โดยทำการการศึกษาจากหลุมศพ และภาพเขียนสีตามผนังถ้ำ ซึ่งวัตถุที่พบร่วมกับหลุมศพ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสังคมของผู้คนเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ลักษณะการฝังศพแต่ละศพอาจบ่งบอกถึงสถานะของผู้ตายเมื่อครั้งยังมีชีวิต.






Picture 2.3 The room of the origin of civilization
Source: Korat Museum. Online. 2020

The room of the Dvaravati period
   ห้องสมัยทวารวดี


Picture 2.4 the room of the Dvaravati period
Source: Korat Museum. Online. 2020





           The room of the Dvaravati period exhibits events in 12th century Buddhist Era from Sema city (Sung Noen District). It was believed that the center of Dvaravati civilization was in the central part of Thailand and from religion. The artefacts found were related to Buddhism. Picture 2.4 Illustrates the room of Dvaravati period.

           นำเสนอเนื้อหาในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ที่ปรากฏหลักฐานของชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์แรกเริ่มต่อเนื่องจนถึงในสมัยทวารวดีมีหลักฐานความเป็นเมือง ณ เมืองเสมา (พื้นที่อำเภอสูงเนินในปัจจุบัน) เชื่อกันว่าวัฒนธรรมทวารวดีมีศูนย์กลางอยู่ในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางของไทย สันนิษฐานคงจะแพร่หลายผ่านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จากเดิมที่ไม่มีการนับถือศาสนา มาเป็นบ้านเมืองที่ยอมรับนับถือศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนา และสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเนื่องในศาสนาขึ้นเป็นจำนวนมาก

The Lopburi period room
   ห้องสมัยลพบุรี

           The Lopburi period room exhibits events in 16th -19th century in Buddhist era during the Khom civilization. This belief affected art and culture in Hinduism and Buddhism particularly Mahayana sect. The evidence was in square design of the city, water reservoir, sanctuary and earthen wares. Picture 2.5 Illustrates the room of Lopburi period.

           นำเสนอเนื้อหาในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-19 ช่วงที่วัฒนธรรมขอมได้แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย ส่งผลต่อความความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศิลปกรรมและวัฒนธรรมทางความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาฮินดูผสมผสานกับศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน ซึ่งสะท้อนอยู่ในโบราณสถานที่ได้รับแบบอย่างจากวัฒนธรรมขอมที่สำคัญ ได้แก่ แบบแผนการสร้างเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ศาสนสถานขนาดใหญ่ในรูปแบบปราสาทหิน เครื่องปั้นดินเผาแบบขอม เป็นต้น






Picture 2.5 The room of the Lopburi period
Source: Korat Museum. Online. 2020

The Ayutthaya period room
   ห้องสมัยอยุธยา


Picture 2.6 The room of the Ayutthaya period
Source: Korat Museum. Online. 2020





           The room of Ayutthaya period exhibits events in Ayutthaya period during the reign of King Narai. He commanded a French architect to design the city plan and temples in 4 directions, for example Wat Klang, Wat Boon, Wat Esan, Wat Payap and Wat Sra Kaew. All the temples were built in Ayutthaya architectural styles. Picture 2.6. Illustrates the room of Ayutthaya period.

           นำเสนอเนื้อหาในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้ย้ายเมืองโคราชเดิม (อำเภอสูงเนินในปัจจุบัน) มาตั้ง ณ สถานที่ปัจจุบัน โดยให้ช่างชาวฝรั่งเศสออกแบบเมืองที่มีกำแพงและป้อมปราการแบบตะวันตก และ ให้สร้างวัดประจำทิศต่างๆ ภายในเขตกำแพงเมือง ได้แก่ วัดกลาง วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดสระแก้ว และวัดบึง ซึ่งวัดเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังคงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมตามแบบกรุงศรีอยุธยา

The Rattanakosin period room
   ห้องสมัยรัตนโกสินทร์

           The room of the Rattanakosin period exhibits events in the reign of King Rama III. Samrit Heroic Scene and artifacts, ancient documents and utensils dating back 100 years. Picture 2.7 Illustrates the room of Rattanakosin period.

           นำเสนอในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ และนอกจากนี้ยังได้นำเสนอศิลปวัตถุอันเป็นมรดกจากตึกดินของ คุณยายยี่สุ่น ไกรฤกษ์ ประกอบด้วย เอกสารโบราณ เครื่องมือเครื่องใช้ของขุนนางและคหบดี ที่หลายชิ้นมีอายุไม่ต่ำว่า 100 ปี






Picture 2.7 The room of the Rattanakosin period
Source: Korat Museum. Online. 2020

The room of the metropolis of Esan
   ห้องมหานครแห่งอีสาน


Picture 2.8 The room of the metropolis of Esan
Source: Korat Museum. Online. 2020





           The room of the metropolis of Esan exhibits events in the reign of King Rama IV during the colonization era. Nakhon Ratchasima was the major military city and was an example of mixed culture of central and Esan cultures. Picture 2.8. Illustrates the room of the metropolis of Esan.

           นำเสนอเนื้อหาในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่มหาอำนาจตะวันตกกำลังดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ เมืองนครราชสีมาเป็นแหล่งยุทธศาสตร์ทางทหาร ยิ่งไปกว่านั้นนครราชสีมายังเป็นตัวอย่างของการยอมรับอำนาจของรัฐบาลกลางได้อย่างผสมกลมกลืนกันในทางสังคมและทางวัฒนธรรมของชาวกรุงเทพฯและชาวอีสานอีกด้วย

The room of good things of Khorat
   ห้องของดีโคราช

           The room of good things of Khorat exhibits semi-rotation exhibitions by selected items of the good things from the city motto. This includes Korat boxing, Hang Kra Rok (squirrel tail) silk, Tricycle, Korat cat and Korat folk song. Picture 2.9. Illustrates the room the good things of Khorat.

           ส่วนนี้เป็นส่วนที่ออกแบบไว้เพื่อรองรับการจัดนิทรรศการกึ่งหมุนเวียน โดยได้คัดเลือกเนื้อหาที่เป็นของดีเมืองโคราช ทั้งจากคำขวัญในอดีต-คำขวัญปัจจุบัน และที่ไม่ได้อยู่นำคำขวัญ เพื่อนำเสนอให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รู้จักว่า โคราชมีของดีอีกมากมายที่ได้รับการกล่าวขวัญในอดีต ทั้งมวยโคราช ผ้าหางกระรอก รถสามล้อ แมวโคราช และเพลงโคราช






Picture 2.9 The room the good things of Khorat
Source: Korat Museum. Online. 2020

The Korat house    เรือนโคราช

           The Korat House was built by the alumni of Nakhon Ratchasima Rajabhat University led by Dr. Nichet Suntornphitak. This house is the learning center on Korat wisdom and way of life. Picture 2.10 Illustrates the Korat house.
           เรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดสร้างโดยคณะศิษย์เก่า โรงเรียนฝึกหัดครู วิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำโดย ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ ซึ่งท่านเป็นทั้งศิษย์เก่า และอาจารย์เก่าของโรงเรียนฝึกหัดครู และวิทยาลัยครูนครราชสีมา ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของวิถีวัฒนธรรมแบบโคราชซึ่งนับวันจะสูญหายไปอย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลของความเจริญสมัยใหม่ จึงดำริชักชวนคณะศิษย์เก่าจัดสร้างเรือนโคราชมอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของคนโคราช (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2018).


Picture 2.10 The Khorat House
Source: Kohorat Museum. Online. 2020