旅游汉语 呵叻地质公园



Korat Museum
พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

           呵叻博物馆:搜集古老文化艺术和其他文物。展示呵叻历史的来源,为了呵叻的永久发展而突出古董的故事,促进呵叻社会和经济的变化。并且还有呵叻房,是体验呵叻古老的生活方式的学习中心。
           在呵叻府通过研究发现艺术的建筑证据,雕塑和绘画中,按时间顺序排列分为以下7个房间:原始房间,塔瓦地时代房间,华富里现代房,大城时代房间,曼谷王朝时代房间,东北房间,呵叻精品房和呵叻传统房。

           พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาภายใต้การดูแลของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีเป้าหมายหลักเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่ประกอบด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมของจังหวัดนครราชสีมาที่เกี่ยวข้องกับความภูมิใจของชาวโคราช พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ ลักษณะการจัดแสดงได้จัดเรียงเนื้อหาตามหลักประวัติศาสตร์ศิลปะ โดยศึกษาจากหลักฐานทางด้านศิลปกรรมที่พบในเขตจังหวัดนครราชสีมา ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม โดยเรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา แบ่งออกเป็น 7 ห้อง ดังนี้ ห้องต้นกำเนิดอารยธรรม ห้องสมัยทวารวดี ห้องสมัยลพบุรี ห้องสมัยอยุธยา ห้องสมัยรัตนโกสินทร์ ห้องมหานครแห่งอีสาน ห้องของดีเมืองโคราช และเรือนโคราช พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาตั้งอยู่ที่อาคาร 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เปิดทำการทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00-15.30 (Korat Museum. Online. 2020).

原始房间
   ห้องต้นกำเนิดอารยธรรม

           史前时期的展览内容在没有宗教或语言的时代因没有记录或任何纪事。因此,过去对社会的研究使用了考古过程通过从坟墓进行研究在山洞墙上画其中发现的物品与坟墓一起可以反映人们还活着的社会。图2.3文明起源的插图

           จัดแสดงเนื้อหาในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคที่ยังไม่มีศาสนาและภาษา จึงยังไม่มีบันทึก หรือพงศาวดารใดๆ การศึกษาถึงสังคมในอดีตจึงนิยมใช้กระบวนการทางโบราณคดี โดยทำการการศึกษาจากหลุมศพ และภาพเขียนสีตามผนังถ้ำ ซึ่งวัตถุที่พบร่วมกับหลุมศพ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสังคมของผู้คนเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ลักษณะการฝังศพแต่ละศพอาจบ่งบอกถึงสถานะของผู้ตายเมื่อครั้งยังมีชีวิต.






图 2.3 原始房间(รูปที่ 2.3 ห้องต้นกำเนิดอารยธรรม)
来源: 呵叻博物馆。线上,2020 (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)

塔瓦地时代房
   ห้องสมัยทวารวดี


图 2.4 塔瓦地时代房(รูปที่ 2.4 ห้องสมัยทวาราวดี)
来源: 呵叻博物馆。线上,2020 (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)





           12世纪的内容,从最早到塔拉瓦底时期就证明了古代社区,四码县(目前是顺能县)。塔拉瓦底文化于泰国中部,以佛教宣传为主,以前没有宗教可到了塔拉瓦底就受到了很大的影响。图2.4塔瓦地时代房

           นำเสนอเนื้อหาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่ปรากฏหลักฐานของชุมชนโบราณสมัยประวัติศาสตร์แรกเริ่มต่อเนื่องจนถึงในสมัยทวารวดีมีหลักฐานความเป็นเมือง ณ เมืองเสมา (พื้นที่อำเภอสูงเนินในปัจจุบัน) เชื่อกันว่าวัฒนธรรมทวารวดีมีศูนย์กลางอยู่ในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางของไทย สันนิษฐานคงจะแพร่หลายผ่านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จากเดิมที่ไม่มีการนับถือศาสนา มาเป็นบ้านเมืองที่ยอมรับนับถือศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนา และสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเนื่องในศาสนาขึ้นเป็นจำนวนมาก รูปที่ 2.4 ภาพประกอบ ห้องสมัยทวารวดี

华富里时代房间
   ห้องสมัยลพบุรี

           16-19世纪高棉文化就来到泰国东北部 受到了很大的影响特别是艺术和文化。印度教和佛教混在一起就看出来是高棉文化例如方形建设图画 石工殿 陶瓷。图2.5 华富里时代房间

           นำเสนอเนื้อหาในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙ ช่วงที่วัฒนธรรมขอมได้แผ่อิทธิพลมายังภาคอีสานของไทย ส่งผลต่อความความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศิลปกรรมและวัฒนธรรมทางความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องในศาสนาฮินดูผสมผสานกับศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน ซึ่งสะท้อนอยู่ในโบราณสถานที่ได้รับแบบอย่างจากวัฒนธรรมขอมที่สำคัญ ได้แก่ แบบแผนการสร้างเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ศาสนสถานขนาดใหญ่ในรูปแบบปราสาทหิน เครื่องปั้นดินเผาแบบขอม เป็นต้น รูปที่ 2.5 ภาพประกอบ ห้องสมัยลพบุรี






图2.5 华富里时代房间(รูปที่ 2.5 ห้องสมัยลพบุรี)
来源: 呵叻博物馆。线上,2020 (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)

大成时代房间
   ห้องสมัยอยุธยา


图 2.6 大成时代房间. (รูปที่ 2.6 ห้องสมัยอยุธยา)
来源: 呵叻博物馆。线上,2020 (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)





           大成时代是都市,那莱世王命令从顺能县(以前是呵叻都市)搬到呵叻城市。由法国建筑者设计墙市而建筑很多四面。

           นำเสนอเนื้อหาในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้นำเสนอเนื้อหาในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดฯ ให้ย้ายเมืองโคราชเดิม (อำเภอสูงเนินในปัจจุบัน) มาตั้ง ณ สถานที่ปัจจุบัน โดยให้ช่างชาวฝรั่งเศสออกแบบเมืองที่มีกำแพงและป้อมปราการแบบตะวันตก และ ให้สร้างวัดประจำทิศต่างๆ ภายในเขตกำแพงเมือง ได้แก่ วัดกลาง วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดสระแก้ว และวัดบึง ซึ่งวัดเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังคงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมตามแบบกรุงศรีอยุธยา

曼谷时代房间
   ห้องสมัยรัตนโกสินทร์

           曼谷时代于第三世王有很多各种各样的事故发生有田村战争除了还有由 雨顺卡乐· 土楼的艺术:房间有很多古代文件, 100多年前泰国高贵的试用品。

           นำเสนอในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ และนอกจากนี้ยังได้นำเสนอศิลปวัตถุอันเป็นมรดกจากตึกดินของ คุณยายยี่สุ่น ไกรฤกษ์ ประกอบด้วย เอกสารโบราณ เครื่องมือเครื่องใช้ของขุนนางและคหบดี ที่หลายชิ้นมีอายุไม่ต่ำว่า 100 ปี






图 2.7 曼谷时代房间(รูปที่ 2.7 ห้องสมัยรัตนโกสินทร์)
来源: 呵叻博物馆。线上,2020 (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)

东北房间
   ห้องมหานครแห่งอีสาน


图 2.8 东北房间(รูปที่ 2.8 ห้องมหานครแห่งอีสาน)
来源: 呵叻博物馆。线上,2020 (ที่มา: พิพิธภัณฑ์โคราช ออนไลน์. 2563)





           朱拉隆功国王统治期间展示内容这是西方列强执行将政治权力扩展到泰国东北地区的政策的时期,这影响了该国的稳定。呵叻府是战略军事来源。此外,呵叻府也是中央政府在曼谷和伊桑人的社会和文化中和谐接受的一个例子。

           นำเสนอเนื้อหาในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่มหาอำนาจตะวันตกกำลังดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจทางการเมืองเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ เมืองนครราชสีมาเป็นแหล่งยุทธศาสตร์ทางทหาร ยิ่งไปกว่านั้นนครราชสีมายังเป็นตัวอย่างของการยอมรับอำนาจของรัฐบาลกลางได้อย่างผสมกลมกลืนกันในทางสังคมและทางวัฒนธรรมของชาวกรุงเทพฯและชาวอีสานอีกด้วย

呵叻精品房
   ห้องของดีโคราช

           本部分旨在支持半旋转展览。通过选择对呵叻有益的内容两者都来自过去的座右铭-当前的座右铭还有不存在的口号向新一代的年轻人展示呵叻过去有很多好东西,包括呵叻拳击,柔软的丝绸面料,三轮车,呵叻猫和呵叻音乐。

           ส่วนนี้เป็นส่วนที่ออกแบบไว้เพื่อรองรับการจัดนิทรรศการกึ่งหมุนเวียน โดยได้คัดเลือกเนื้อหาที่เป็นของดีเมืองโคราช ทั้งจากคำขวัญในอดีต-คำขวัญปัจจุบัน และที่ไม่ได้อยู่นำคำขวัญ เพื่อนำเสนอให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รู้จักว่า โคราชมีของดีอีกมากมายที่ได้รับการกล่าวขวัญในอดีต ทั้งมวยโคราช ผ้าหางกระรอก รถสามล้อ แมวโคราช และเพลงโคราช






Picture 2.9 The room the good things of Khorat
Source: Korat Museum. Online. 2020

The Korat house    เรือนโคราช

           The Korat House was built by the alumni of Nakhon Ratchasima Rajabhat University led by Dr. Nichet Suntornphitak. This house is the learning center on Korat wisdom and way of life. Picture 2.10 Illustrates the Korat house.
           เรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดสร้างโดยคณะศิษย์เก่า โรงเรียนฝึกหัดครู วิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำโดย ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ ซึ่งท่านเป็นทั้งศิษย์เก่า และอาจารย์เก่าของโรงเรียนฝึกหัดครู และวิทยาลัยครูนครราชสีมา ท่านได้เล็งเห็นความสำคัญของวิถีวัฒนธรรมแบบโคราชซึ่งนับวันจะสูญหายไปอย่างรวดเร็วด้วยอิทธิพลของความเจริญสมัยใหม่ จึงดำริชักชวนคณะศิษย์เก่าจัดสร้างเรือนโคราชมอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของคนโคราช (สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2018).


Picture 2.10 The Khorat House
Source: Kohorat Museum. Online. 2020