Français POUR LE GÉOTOURISME au Géoparc de Khorat



L’ancien bateau
เรือโบราณ

           L’ancien bateau a été découvert par les habitants de Ban Madan, sous-district de Tha Chang, district de Chaloem Phra Kiat. C'est une attraction historique. Le 20 avril 2016, le département des Beaux-Arts a inspecté cet ancien bateau et a découvert qu'il s'agissait d'un cargo en provenance d'Ubon Ratchathani sous le règne du roi Rama V, âgé de 130 ans. Plus tard, les habitants ont trouvé cette épave coulée dans la rivière et ont essayé de la restaurer au bord de la rivière.
           Le 18 avril 2016, tous les habitants et les archéologues ont inspecté le bateau et ont découvert qu'il mesurait 13,5 mètres de long, 3 mètres de large et était en bois de fer. Il a été utilisé comme cargo de 1882 à 1920 sous le règne du roi Rama V. (khoratgeopark. En ligne. 2020). L’image 4.4 illustre l’ancien bateau.

           เรือโบราณถูกค้นพบโดยชาวบ้าน บ้านมะดัน ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ เป็นอีกแหล่งหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วันที่ 20 เมษายน 2559 กรมศิลปากรได้ตรวจสอบเรือโบราณที่โคราช เบื้องต้นคาดว่าเป็นเรือขนสินค้าจากอุบลฯ ยุค ร.5 อายุกว่า 130 ปี ภายหลังจากที่มีชาวบ้านใน ต.ท่าช้าง ลงไปหาปลาบริเวณสะพานข้ามลำน้ำมูล หมู่บ้านมะดันรัฐ หมู่ 10 ต.ท่าช้าง และพบซากเรือโบราณขนาดใหญ่จมอยู่ใต้น้ำ ก่อนที่ชาวบ้านจะพากันกู้ซากเรือโบราณขึ้นมาไว้ริมชายฝั่ง
           วันที่ 18 เมษายน 2559 ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจพากันแห่มาดูและกราบไหว้เป็นจำนวนมาก นายวิจิตร กิจวิรัตน์ นายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วย นายสมเดช ลีลามโนธรรม นักโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบซากเรือโบราณดังกล่าว เพื่อประเมินอายุ และความเป็นมาของเรือ ท่ามกลางบรรยากาศที่มีประชาชนแห่มาจุดธูปเทียน บูชากราบไหว้ขอพรกันเป็นจำนวนมาก จากการวัดและตรวจสอบสภาพของเรือ พบว่ามีความยาวประมาณ 13.5 เมตร กว้างประมาณ 3 เมตร ทำจากไม้เนื้อแข็งคาดว่าเป็นไม้ตะเคียน ลักษณะของเรือคล้ายเรือขนถ่ายสินค้า เนื่องจากมีท้องเรือกว้างและลึก ส่วนความเป็นมานั้น คาดว่าจะเป็นเรือกลไฟขนถ่ายสินค้ามาจากอุบลราชธานี มีอายุระหว่าง พ.ศ.2425 - 2436 อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากขณะนั้นพ่อค้าชาวจังหวัดอุบลราชธานี มักจะเดินทางขนสินค้ามาทางลำน้ำมูล เข้ามาเทียบเรือที่บริเวณลำน้ำมูล ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นท่าเรือเก่าแก่ และเป็นจุดขนถ่ายสินค้าขึ้นเกวียน ขนส่งเข้าไปในตัวเมืองนครราชสีมา (อุทธยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563) รูปที่ 4.4 เรือโบราณ


Image 4.4. L’ancien bateau. (ภาพที่ 4.4 เรือโบราณ)
Source : khoratgeopark. En ligne. 2020. (ที่มา: อุทยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563)