ENGLISH FOR GEOTOURISM at Khorat Geopark



Ancient Boat
เรือโบราณ

           The Ancient boat was discovered by the locals at Baan Ta Madan, Ta Change Sub-district, Chaloem Phra Kiat District. It is a historical attraction. On April 20th, 2016, The Fine Arts Department inspected this ancient boat and found that it was a cargo boat from Ubon Ratchathani during the reign of King Rama V, 130 years ago. Later, locals found this shipwreck sunk in the river and tried to restore it on the banks of the river.
           On April 18th, 2016, all the locals and the archeologists inspected the boat and found that it was 13.5 meters long, 3 meters wide and made from iron wood. It was used as a cargo boat from 1882 to 1920 in the reign of King Rama V.

           เรือโบราณถูกค้นพบโดยชาวบ้าน บ้านมะดัน ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ เป็นอีกแหล่งหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วันที่ 20 เมษายน 2559 กรมศิลปากรได้ตรวจสอบเรือโบราณที่โคราช เบื้องต้นคาดว่าเป็นเรือขนสินค้าจากอุบลฯ ยุค ร.5 อายุกว่า 130 ปี ภายหลังจากที่มีชาวบ้านใน ต.ท่าช้าง ลงไปหาปลาบริเวณสะพานข้ามลำน้ำมูล หมู่บ้านมะดันรัฐ หมู่ 10 ต.ท่าช้าง และพบซากเรือโบราณขนาดใหญ่จมอยู่ใต้น้ำ ก่อนที่ชาวบ้านจะพากันกู้ซากเรือโบราณขึ้นมาไว้ริมชายฝั่ง
           วันที่ 18 เมษายน 2559 ประชาชนจำนวนมากให้ความสนใจพากันแห่มาดูและกราบไหว้เป็นจำนวนมาก นายวิจิตร กิจวิรัตน์ นายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ พร้อมด้วย นายสมเดช ลีลามโนธรรม นักโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบซากเรือโบราณดังกล่าว เพื่อประเมินอายุ และความเป็นมาของเรือ ท่ามกลางบรรยากาศที่มีประชาชนแห่มาจุดธูปเทียน บูชากราบไหว้ขอพรกันเป็นจำนวนมาก จากการวัดและตรวจสอบสภาพของเรือ พบว่ามีความยาวประมาณ 13.5 เมตร กว้างประมาณ 3 เมตร ทำจากไม้เนื้อแข็งคาดว่าเป็นไม้ตะเคียน ลักษณะของเรือคล้ายเรือขนถ่ายสินค้า เนื่องจากมีท้องเรือกว้างและลึก ส่วนความเป็นมานั้น คาดว่าจะเป็นเรือกลไฟขนถ่ายสินค้ามาจากอุบลราชธานี มีอายุระหว่าง พ.ศ.2425 - 2436 อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากขณะนั้นพ่อค้าชาวจังหวัดอุบลราชธานี มักจะเดินทางขนสินค้ามาทางลำน้ำมูล เข้ามาเทียบเรือที่บริเวณลำน้ำมูล ต.ท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นท่าเรือเก่าแก่ และเป็นจุดขนถ่ายสินค้าขึ้นเกวียน ขนส่งเข้าไปในตัวเมืองนครราชสีมา (อุทธยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563) รูปที่ 4.4 เรือโบราณ


ภาพที่ 4.4 เรือโบราณ
ที่มา: อุทยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563