ENGLISH FOR GEOTOURISM at Khorat Geopark



Chumphon Gate ประตูชุมพล


Picture 2.2 Chumphon Gate
Source: Ministry of Tourism and Sports. Online. 2020

           Chumphon gate situated behind the Memorial Monument of Thao Suranaree in Nakhon Ratchasima is considered a holy place. There were four city gates in the reign of King Narai to prevent the city from any invasions, however, only one remains today. Chumphon Gate has a Thai house on the top. The gate was decorated with Thai architecture horn like projections on the roof ridge representing the head of the garuda, in Thai called “Chorfah”. There was also the fort to protect the city. This city gate is the only gate in perfect condition out of the 4 original gates.
           Chumphon Gate was in the old town area. King Narai commanded it to be built to prevent the invasion of armies from the Khmer, Yuan and Laos. It was built in Ayutthaya architectural style with a French architect designing the plan for Nakhon Ratchasima city. Ministry of Tourism and Sports. Online. 2020). Picture 2.2 Illustrates Chumphon Gate.

           ประตูชุมพลตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ถนนจอมพล ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่สำคัญที่นักท่องเที่ยวจะเดินทางมาสักการะและขอพรเพื่อให้สมหวัง ซึ่งแต่เดิมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้สร้างประตูเมืองขึ้นมาทั้งสี่ด้านโดยจะใช้เป็นเกราะป้องกันข้าศึก แต่ปัจจุบันได้เหลือเพียงประตูชุมพลเพียงแค่ด้านเดียวที่ยังคงสภาพ ในส่วนอีกสามประตูได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ความพิเศษของประตูชุมพล คือ ตรงเหนือช่องประตู จะมีเรือนไม้หลังเล็ก ๆ เป็นเรือนแบบไทย มีหลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา เรียกว่า “หอรบ” เอาไว้สำหรับบัญชาการรบ ส่วนของกำแพงที่ต่อไปทั้งสองข้างส่วนบน ทำเป็นรูปใบเสมา ใต้ใบเสมาเจาะช่องเป็นรูปกากบาท เพื่อใช้ลอบดูข้าศึก ประตูชุมพลมีลักษณะเด่นคือ ประตูเมืองแห่งนี้เป็นเพียงแห่งเดียว ในบรรดาประตูทั้ง 4 ประตูของเมืองโคราชที่ยังคงสภาพเดิมอยู่พร้อมกับกำแพงเมืองเก่า ซึ่งประตูทั้ง 4 มีรูปแบบเป็นทรงไทยโบราณ ศิลปะสมัยอยุธยา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา และมีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันทุกแห่ง
           ประตูชุมพลเป็นประตูเมืองทางทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อ ปี 2199 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา และโปรดเกล้าฯให้สร้างกำแพงประตูเมืองอย่างแข็งแรง เพื่อป้องกันการรุกรานจาก เขมร ญวน ลาว โดยเกณฑ์ช่างจากกรุงศรีอยุธยา เกณฑ์แรงงานจากเมืองโคราชและเมืองเสมาช่วยกันสร้างขึ้น ซึ่งในขณะนั้น มีนายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบและวางผังเมืองให้ (หากใครเคยมาโคราชจะเห็นว่า ถนนและเส้นทางต่างๆในตัวเมืองนั้น เดินทางง่าย สะดวก เพราะมีการวางผังเมืองเป็นบล็อกๆตามแบบผังเมืองของฝรั่งเศส) (Ministry of Tourism and Sports. Online. 2020).