Français POUR LE GÉOTOURISME au Géoparc de Khorat



Géotourisme การท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ หรือจีโอทัวร์

           Le géotourisme est défini comme un tourisme qui soutient ou améliore le caractère géographique distinctif d'un lieu, son environnement, sa géologie, son patrimoine, son esthétique, sa culture et le bien-être de ses résidents (UNESCO, 2011 ; National Geographic, 2011 ; Geoworldtravel, 2011 mentionné dans le bureau du géoparc de Khorat, 2020). Le géotourisme est un outil économique important pour développer l'économie et la communauté, alléger le mode de vie et augmenter les revenus. Par conséquent, le géotourisme a un impact positif sur l'économie et la société nationale. Il aide les populations locales à reconnaitre les sciences de la terre et les encourage à prendre conscience de la conservation de l'environnement. Le géotourisme peut également créer un grand nombre d’opportunités d'emploi pour les locaux. Par exemple : le spectacle culturel, la vente de produits locaux, les conférences et les services. Il aide aussi à la préservation culturelle et traditionnelle. (Bureau de province de Nakhon Ratchasima, 2018).
           การท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์หรือจีโอทัวร์ คือการท่องเที่ยวที่สนับสนุนหรือส่งเสริมลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น หรืออัตลักษณ์ของพื้นที่ ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ธรณีวิทยา สุนทรียภาพ มรดกและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนที่อาศัยอยู่ โดยการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (Geological Tourism) เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยวประเภทนี้มีความสำคัญโดยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ ทำให้เศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นดีขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและสังคมเชิงประชาชาติโดยรวม รวมถึงช่วยให้ชุมชนมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์โลกและร่วมเป็นเครือข่ายในการปกป้องสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การท่องเที่ยวจีโอทัวร์สามารถสร้างอาชีพให้ชุมชนในหลากหลายรูปแบบ เช่น การแสดงทางวัฒนธรรม การขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การนำเที่ยว การเป็นวิทยากร การให้บริการต่างๆ ทั้งยังเป็นการช่วยรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นทางหนึ่ง (สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา, 2561)

           De la définition et de l'importance du géotourisme, ce type de tourisme est lié à la visite des attractions de l’environnement, la géologie, la paléontologie, la culture et le mode de vie dans la communauté. Les connaissances sur la paléontologie sont importantes dans la gestion du géotourisme. Ces connaissances sont liées aux caractéristiques distinctives et aux informations géographiques des géoparcs en Thaïlande détaillées dans la section suivante.
           จากนิยามและความสำคัญดังกล่าว การท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์หรือจีโอทัวร์เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีความเกี่ยวพันทางด้านสิ่งแวดล้อม ธรณีวิทยา รวมถึงวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่มีชุมชนอาศัยอยู่กับพื้นที่อุทยานธรณีที่มีอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะโดยทั่วไปของอุทยานธรณีจึงเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญยิ่งในการจัดการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ ซึ่งความรู้นี้เกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของอุทยานธรณีในประเทศไทยมีดังต่อไปนี้

Géoparcs en Thaïlande    อุทยานธรณีในประเทศไทย

           Un géoparc est une zone dont la géologie, la nature et la culture sont distinctes, avec une histoire liée à la valeur de la terre et au mode de vie. Cette zone est gérée en collaboration par toutes les communautés voisines pour la conservation, l’éducation et le développement durable. (Bureau du géoparc de Khorat, 2019).
           อุทยานธรณี คือ พื้นที่ที่มีความสำคัญและโดดเด่นทางธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยา และวัฒนธรรม มีเรื่องราวที่เชื่อมโยงคุณค่าของผืนแผ่นดินกับวิถีชีวิตชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยการอนุรักษ์ การศึกษา และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (สำนักงานอุทยานธรณีโคราช, 2562)

Il existe 3 géoparcs locaux en Thaïlande, 2 géoparcs nationaux et 1 géoparc mondial UNESCO. Ces géoparcs sont situés dans les régions du nord, du nord-est et du sud de la Thaïlande. Le plus distinctif est le géoparc mondial UNESCO de Satun qui est aussi un géoparc national situé dans le sud de la Thaïlande. Les 2 géoparcs nationaux sont : le géoparc de Khorat et le géoparc de Phachan-Samphanbok situés tous les 2 dans la région nord-est de la Thaïlande. Les 3 géoparcs locaux sont : le géoparc de Tak et le géoparc de Petchabun situés dans la région nord de la Thaïlande, puis le géoparc de Khon Kaen situé dans la région nord-est de la Thaïlande. De brèves informations sur ces géoparcs bien connus en Thaïlande sont présentées dans la section suivante.
           ประเทศไทยมีอุทยานธรณีระดับท้องถิ่น 3 แห่ง ระดับชาติ 2 แห่ง และระดับโลก 1 แห่ง โดยที่อุทยานธรณีเหล่านี้ตั้งอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ อุทยานธรณีที่โดดเด่นที่สุดคืออุทยานธรณีสตูลที่เป็น UNESCO Global Geopark และเป็นอุทยานธรณีแห่งชาติ อุทยานธรณีที่เหลือเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย 2 แห่งตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อันมี อุทยานธรณีโคราชและอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก ส่วนอีก 3 แห่งเป็นอุทยานธรณีท้องถิ่นคืออุทยานธรณีตาก และเพชรบูรณ์อยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ อุทยานธรณีขอนแก่น ส่วนต่อไปจะนำเสนอข้อมูลโดยย่อของอุทยานธรณีเหล่านี้ในประเทศไทย





#
#

           Dans le Nord de la Thaïlande, les 2 géoparcs principaux sont : le géoparc de Petchabun et le géoparc de Tak. Le géoparc de Petchabun est situé dans la province de Petchabun par son nom et compte 21 géosites au total. Le géoparc de Tak est situé dans la province de Tak et couvre une grande superficie de 6 000 kilomètres carrés avec un total de 20 géosites à visiter.
           ในภาคเหนือของประเทศไทยมีอุทยานธรณีหลัก 2 แห่งคือ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ และ อุทยานธรณีตาก ซึ่งมาจากชื่อจังหวัดที่อุทยานธรณีเหล่านี้ตั้งอยู่ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์มีแหล่งธรณีวิทยาทั้งหมด 21 แห่ง อุทยานธรณีแห่งที่สอง คืออุทยานธรณีตาก ตั้งอยู่ในจังหวัดตาก และครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ 6,000 ตารางกิโลเมตร ที่มีแหล่งธรณีวิทยาทั้งหมด 20 แห่ง

Dans le sud de la Thaïlande, se trouve le seul géoparc mondial. Il s’agit du géoparc mondial UNESCO de Satun. Il est situé dans la province de Satun avec une superficie totale de 2 597 kilomètres carrés et un total de 27 géosites, 15 sites naturels et culturels.
           ทางตอนใต้ของประเทศไทยมีอุทยานธรณีระดับโลกเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการรับรองจาก UNESCO และ เป็นอุทยานธรณีแห่งชาติด้วย คือ อุทยานธรณีสตูล ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล มีพื้นที่ทั้งหมด 2,597 ตารางกิโลเมตร และมีแหล่งธรณีวิทยารวมทั้งสิ้น 27 แห่ง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม 15 แห่ง

           Dans la partie du nord-est de la Thaïlande, il existe 3 géoparcs majeurs. Le premier est le géoparc de Phachan-Samphanbok. Il est situé dans la province d'Ubon Ratchathani et couvre une superficie de 1 714 kilomètres carrés avec un total de 38 géosites à visiter. Cet endroit a été déclaré le 9 mai 2011 en tant que site de géo-patrimoine avec des recherches sur la stratigraphie et les paléoenvironnements. Le Ministère des Ressources naturelles et de l'Environnement a annoncé cet endroit comme géoparc national le 22 Septembre 2019. Le deuxième est le géoparc de Khon Kaen, situé dans la province du même nom. Il couvre une superficie de 1 733 kilomètres carrés avec un total de 23 géosites à visiter. Cet endroit a été annoncé comme géoparc le 31 janvier 2018 en tant que site de géo-patrimoine. Le troisième est le géoparc de Khorat. Il est le centre d’intérêt de cette unité. Le géoparc de Khorat va devenir géoparc mondial et sera généralement reconnu « triple couronne de l'UNESCO ». Ce sera 1 des 3 sites dans le monde après la Corée du Sud et la Chine. De part cette importance mondiale, les informations sur le géoparc de Khorat, son identité, le monde de paléontologie / ville des fossiles, la terre des cuestas et les routes du géotourisme se trouvent dans cette unité. (Université de Rajabhat Nakhon Ratchasima, 2018).
           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีอุทยานธรณีสำคัญ 3 แห่ง แห่งแรกคือ อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก ตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี และครอบคลุมพื้นที่ 1,714 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งธรณีวิทยาให้เข้าชมทั้งหมด 38 แห่งถือเป็นแหล่งมรดกทางธรณีวิทยาที่มีงานวิจัยด้านธรณีศาสตร์ด้านลำดับชั้นของหิน และสภาพแวดล้อมบรรพกาล กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมรับรองเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 อุทยานธรณีแห่งที่สองคือ อุทยานธรณีขอนแก่น ตั้งอยู่ในจังหวัดนี้จากชื่อที่ตั้ง ครอบคลุมพื้นที่ 1,733 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งธรณีวิทยาทั้งหมด 23 แห่ง ให้เยี่ยมชมถือเป็นแหล่งมรดกทางธรณีวิทยา อุทยานธรณีแห่งสุดท้ายคือ อุทยานธรณีโคราชกำลังดำเนินการก้าวไปสู่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และเมื่อถึงตอนนั้นก็จะได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็น UNESCO Triple Crown ซึ่งเป็น 1 ใน 3 แห่งในโลก ถัดจากสาธารณรัฐเกาหลีและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ 3,167 ตารางกิโลเมตร มีแหล่งธรณิทยา 24 แห่ง แหล่งธรรมชาติอื่นและแหล่งวัฒนธรรมรวม 15 แห่ง จังหวัดนครราชสีมาประกาศเป็นอุทยานธรณีเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมรับรองเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2561 จากความสำคัญระดับโลกของข้อมูลของโคราชจีโอพาร์ค เนื้อหาส่วนต่อไปจะได้นำเสนอเอกลักษณ์มหานครแห่งบรรพชีวิน ดินแดนแห่งเขาเควสตาฟอสซิล และเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงภูมิศาสตร์ (มหาวิทยาลัยราชภัฏนคราชสีมา. 2561)

En résumé, les caractéristiques géologiques significatives et distinctives des 6 géoparcs de Thaïlande sont les suivantes :
      1. Le géoparc mondial UNESCO de Satun se distingue par la terre des fossiles avec 6 époques Paléozoïques.
      2. Le géoparc de Khorat se distingue par la terre des cuestas et des fossiles.
      3. Le géoparc de Phachan-Samphanbok se distingue par les nids-de-poule et l'escarpement.
      4. Le géoparc de Khon Kaen se distingue par la terre des dinosaures de Phu Wiang.
      5. Le géoparc de Tak se distingue par la terre des plus grands et des plus longs bois pétrifiés.
      6. Le géoparc de Petchabun se distingue par la terre avec 2 terranes reliées (la terrane d’Indochine et la terrane de Sinarmas).
โดยสรุปลักษณะทางธรณีวิทยาที่สำคัญและโดดเด่นของอุทยานธรณีทั้ง 6 แห่งมีดังนี้
      1. อุทยานธรณีสตูลมีลักษณะเด่นคือเป็นดินแดนแห่งฟอสซิลพาลีโอโซอิกครบทั้ง 6 ยุค
      2. อุทยานธรณีโคราชมีลักษณะเด่นคือเป็นดินแดนแห่งเขาเควสตาและฟอสซิล
      3. อุทยานธรณีผาชันสามพันโบกมีลักษณะเด่นคือเป็นดินแดนแห่งกุมภลักษณ์และผาอัศจรรย์
      4. อุทยานธรณีขอนแก่นมีลักษณะเด่นคือเป็นดินแดนไดโนเสาร์แห่งหุบเขาภูเวียง
      5. อุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตากมีลักษณะเด่นคือเป็นดินแดนแห่งฟอสซิลไม้กลายเป็นหินที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในโลก
      6. อุทยานธรณีเพชบูรณ์มีลักษณะเด่นคือเป็นดินแดนเชื่อมอนุทวีปทั้ง 2 แห่งที่แตกต่างกัน คือ ทวีปอินโดจีนและทวีปไซเนอมาสุ
     


อุทยานธรณีผาชันสามพันโบก