旅游汉语 呵叻地质公园



呵叻:化石城市
โคราช: มหานครแห่งบรรพชีวินหรือเมืองแห่งฟอสซิล

           呵叻地质公园不仅以独特的球茎闻名,而且还拥有古代大象和恐龙化石的独特属。在这里发现东盟禽龙恐龙种类最齐全,并且从世界上总共55个属中提取了10个属的古代大象化石。由于这些原因,霍拉特地质公园被命名为霍拉特:世界化石城市。有趣的是,在该地区发现了猿类,哺乳动物和爬行动物化石的新世界属和种。
           นอกจากเป็นดินแดนแห่งเขาเควสตา โคราชจีโอพาร์คยังประกอบไปด้วยซากดึกดำบรรพ์พืชสัตว์ที่มีหลากหลายที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยมีการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์หลากหลายสกุลที่สุดในอาเซียน เป็นแหล่งฟอสซิลช้างหลากหลายสกุลที่สุดในโลก มี 10 สกุลใน 55 สกุลของโลก รวมถึงมีการค้นพบฟอสซิลสัตว์ในพื้นที่แห่งนี้ซึ่งเป็นพันธุ์ใหม่ของโลก โดยพบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์ใหม่ของโลกและฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพันธุ์ใหม่ของโลก จึงทำให้โคราชจีโอพาร์คได้ชื่อว่าเป็น “มหานครแห่งบรรพชีวินของโลก”

古大象发现在呵叻地质公园
   ช้างดึกดำบรรพ์ที่พบในพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค

           以下是在呵叻地质公园地区发现的古代大象属。呵叻地质公园具有世界上古代大象属最高的多样性。图1.3 古大象
           ช้างดึกดำบรรพ์ที่พบในพื้นที่โคราชจีโอพาร์คมีความหลากหลายสกุลสูงสุดจากสกุลช้างดึกดำบรรพ์ทั่วโลก สกุลที่พบในพื้นที่แห่งนี้คือช้างสี่งากอมโฟธีเรียม ช้างไซโกโลโฟดอน ช้างงาจอบเล็กโปรโดโนธีเรียม ช้างงาจอบใหญ่ไดโนธีเรียม ช้างงาเสียมโปรตานันดัส ช้างไซโนมาสโตดอน ช้างสี่งาเตตระโลโฟดอน ช้างสเตโกดอน ช้างเอลิฟาส และช้างสเตโกโลโฟดอน รูปที่ 1.3 แสดงสกุลช้างโบราณที่ค้นพบในเขตพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค

#
图1.3 古大象
来源: 呵叻地质公园办公室. 2020a

呵叻地质公园属于新近纪化石   ฟอสซิลสัตว์พันธุ์ใหม่ของโลกในพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค

           呵叻地质公园发现了新的属/动物化石物。它们是恐龙,猿,哺乳动物和爬虫动物。
           ฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ของโลกที่ถูกค้นพบคือ พันธุ์สยามแรปเตอร์สุวัจน์ติ สิรินธรน่า โคราชเอนซิส ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ และสยามโมดอน นิ่มงามมิ รูปที่ 1.4 แสดงฟอสซิลไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบในเขตพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค

恐龙化石
   ฟอสซิลไดโนเสาร์

           新发现的恐龙化石是Siamraptor suwati,Sirindhorna khoratenis,Ratchasimasaurus suranareae和Siamondon nimngami。图1.4说明了在呵叻地质公园新发现的恐龙化石物
           ฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ของโลกที่ถูกค้นพบคือ พันธุ์สยามแรปเตอร์สุวัตติ สิรินธรน่า โคราชเอนซิส ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ และสยามโมดอน นิ่มงามมิ รูปที่ 1.4แสดงฟอสซิลไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบในเขตพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค

Picture 1.1
图1.4: 在呵叻地质公园发现新恐龙属
来源: 呵叻地质公园办公室. 2020a

石化木
   ไม้กลายเป็นหิน

           石化木是通过“石化”过程(指“变成石头”)保存的一种木质化石。木材的所有有机材料已被矿物(最常见的是硅酸盐,如石英)取代,同时保留了木材的原始结构。通常,可以通过在显微镜下检查化石的薄片并将其与生物物种的细胞结构进行比较来识别木化木材的物种。木化石是过去的关键。对化石木材的研究可以使我们了解古代森林的样子。石化木材在这一发现中起着重要作用。
           石化木是呵叻旳里程碑
           宝石石化木
           呵叻府发现的木化石具有宝石的品质,例如:蛋白石,红玉,玛瑙和碧玉。泰国最大的蛋白石化木原木位于博物馆所在的素拉娜里街。

           石化棕榈木
           它在木化的规则纹理中具有突出的杆状结构。这种轮廓分明的杆状结构表现为斑点,渐细的杆或连续的线,使其成为岩石收藏家的最爱。石化的棕榈树林在呵叻府本地很丰富,特别是在苏拉娜里街,但在其他地方很少见。

           各种年龄的木化石
           呵叻府发现了被子植物的石化木材。他们的年龄从更新世早期(80万年前)和白垩纪早期(140-1.2亿年前)不等。在北冲县发现了该国最大的侏罗纪晚期(约1.5亿年前)的石化针叶木材(直径1.75 m)。晚侏罗世针叶木化木取材于呵叻府北冲县 (石化木博物馆,线上,2020)

           ไม้กลายเป็นหินเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เก็บรักษาโดยกระบวนการที่เรียกว่า "การทำให้เป็นหิน" ซึ่งแปลว่า "เปลี่ยนเป็นหิน" วัสดุอินทรีย์ทั้งหมดของไม้ถูกแทนที่ด้วยแร่ธาตุ ส่วนใหญ่มักจะเป็นซิลิเกต เช่น ควอตซ์ ในขณะที่ยังคงโครงสร้างเดิมของไม้ โดยทั่วไปแล้วชนิดของไม้กลายเป็นหินสามารถตรวจสอบได้โดยการตรวจสอบฟอสซิลบางส่วนภายใต้กล้องจุลทรรศน์และเปรียบเทียบกับโครงสร้างเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ไม้กลายเป็นหินเป็นกุญแจไขไปสู่อดีต การศึกษาป่าดึกดำบรรพ์ทำให้เข้าใจว่าป่าโบราณเป็นอย่างไร ซึ่งไม้กลายเป็นหินมีบทบาทสำคัญในการค้นพบนี้
           ลักษณะเด่นของไม้กลายเป็นหินที่ค้นพบในจังหวัดนครราชสีมามีดังต่อไปนี้
           ไม้กลายเป็นหินอัญมณี
           ไม้กลายเป็นหินที่พบในจังหวัดนครราชสีมาเป็นไม้กลายเป็นหินอัญมณี เช่น โอปอล คาร์เนเลียน อาเกต และแจสเปอร์ ไม้กลายเป็นหินโอปอลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยถูกค้นพบในตำบลสุรนารี ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน

           ไม้กลายเป็นหินวงศ์ปาล์ม
           ไม้กลายเป็นหินวงศ์ปาล์มมีโครงสร้างท่อลำเลียงน้ำที่โดดเด่น ลักษณะภายในของไม้กลายเป็นหินมีโครงสร้างเป็นจุดในด้านหน้าตัดหรือเส้นต่อเนื่องในด้านแนวนอนทำให้เป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักสะสมหิน ไม้กลายเป็นหินวงศ์ปาล์มพบมากในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำบลสุรนารี แต่หายากมากในที่อื่น

           ไม้กลายเป็นหินหลากอายุ
           ป่าไม้กลายเป็นหินของพืชดอกแองจีโอสเปิร์มพบได้ในจังหวัดนครราชสีมา มีอายุแตกต่างกัน จากสมัยไพลโตซีนตอนต้น (800,000 ก่อน) และยุคครีเทเชียสตอนต้น (140-120 ล้านปีก่อน) ไม้สนต้นสนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.75 ม.) อายุยุคจูแรสซิกตอนปลาย (ประมาณ 150 ล้านปีก่อน) พบในอำเภอปากช่อง

#
ไม้กลายเป็นหิน
สถาบันไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา