旅游汉语 呵叻地质公园



呵叻地质公园与地质特
อุทยานธรณีโคราชและลักษณะทางธรณีวิทยา

呵叻地质公园   อุทยานธรณีโคราช หรือโคราชจีโอพาร์ค

           呵叻地质公园位于泰国东北部,总面积为3,167.38平方公里,覆盖五个县城:四球县、顺能县、堪他利莎县、呵叻直辖县、差隆帕恰县,地形是属于鬣山地貌或单面山地貌。西南部地势较高、平板、湖是流经该地区中部的主要河流,位于差隆帕恰县的萌河。 它是史前时代以来的社区场所,继续到现在。 远古大象和同时期其它动物化石。该处发现了10种远古大象化石,全世界共有55个种属。它是世界上最大的远古大象来源。(呵叻地质公园办公室2020a).
           อุทยานธรณีโคราชตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย พื้นที่ทั้งหมด เท่ากับ 3,167.38 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอเมืองนครราชสีมา และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีแหล่งธรณีวิทยา 25 แห่ง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม 10 แห่ง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาเควสตาหินทรายทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ ที่ราบลูกคลื่นทางตอนเหนือ กลางและใต้ และเป็นที่ราบลุ่มทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือมีลำตะคองเป็นแม่น้ำสายหลัก ไหลผ่านกลางพื้นที่ไปบรรจบกับแม่น้ำมูลในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เป็นสถานที่ตั้งชุมชนมาแต่ครั้งก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน และเป็นแหล่งซากช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสกุลสุดในโลก

           该地区始于2亿多年前河流沉积物的支流,其中包括恐龙和当代哺乳动物群,直至哺乳动物时代。当土地被提升到高原与土地的弯曲,导致周围的山脉,这座山被侵蚀成峡谷。之前被流水叮咬的水。这是一个美丽的风景,人们是历史时代之前的定居者,直到今天是东方和印度支那。它也是运输,工业,贸易和旅游的枢纽。图 1.1 呵叻地质公园化石之地图
           พื้นที่เริ่มต้นมาจากการตกทับถมตัวของตะกอนแม่น้ำมากกว่า 150 ล้านปีก่อน พร้อมกับฝูงไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมสมัย จนถึงยุคสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หลากหลาย เมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้นเป็นที่ราบสูงพร้อมกับการคดโค้งโก่งตัวและแอ่นตัวน้อยๆ ของแผ่นดินทำให้เกิดเทือกเขาเควสตารอบแอ่งโคราช ขุนเขาถูกกัดกร่อนเป็นช่องเขาน้ำกัดโดยกระแสน้ำไหลที่มีมาก่อน เกิดเป็นภูมิทัศน์ที่งดงามและมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันและเป็นประตูสู่แดนอีสานและอินโดจีน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการคมนาคม ขนส่ง อุตสาหกรรม การค้า และการท่องเที่ยว และอาจเรียกได้ว่าโคราชจีโอพาร์คเป็น “ดินแดนแห่งเควสตาและฟอสซิล” รูปที่ 1.1 แสดงพื้นที่โคราชจีโอพาร์คดินแดนแห่งเขาเควสตาและฟอสซิล


Picture 1.1
图 1.1: 呵叻地质公园的化石之地
来源: 呵叻地质公园办公室. 2020a

呵叻地质公园地质特征
   ลักษณะทางธรณีวิทยาของโคราชจีโอพาร์ค

           呵叻地质公园位于呵叻团的红色中生代沉积岩(年龄大约为150-66百万年前的恐龙),该沉积岩主要由砂岩组成,厚约4000米。大约在65-5500万年前,构造板块的碰撞导致呵叻团的岩石层被折叠到呵叻盆地中并被抬升形成高原。由于抵抗力的差异,较老的下部岩石层已经暴露在外,从而形成了像丘科斯这样的地貌结构,例如考艾和考萨普·普拉杜
           พื้นที่โคราชจีโอพาร์ครองรับด้วยชั้นหินตะกอนสีแดงในยุคไดโนเสาร์ที่หนาราว 4,000 เมตร ซึ่งจัดอยู่นกลุ่มหินโคราช ส่วนใหญ่เป็นหินทราย มีอายุอยู่ในช่วง 150-66 ล้านปีก่อนและประมาณ 50 ล้านปีก่อน เกิดการชนกันของเปลือกโลกทำให้ชั้นหินชุดโคราชคดโค้งเป็นแอ่งโคราชพร้อมกับการยกตัวเป็นที่ราบสูงทำให้ชั้นหินที่มีอายุเก่ากว่าโผล่ขึ้นมาเกิดเป็นสัณฐานภูมิประเทศแบบเขาอีโต้หรือเขาเควสตา (Cuesta) เช่น เขายายเที่ยง เขาซับประดู่

塔孔河是呵叻重要的河流,源头是考艾国家公园内的东帕雅因山脉和三噶姆潘山脉,在80,000年前隆起,流经四球县,穿过呵叻高原到达顺能县、堪他利莎县、呵叻直辖县,最后在差隆帕恰县踏长镇与门河交汇,长度约220公里。在四球县和顺能县境内河段中并未发现大量河床沉淀物,表明该处地壳崛起时,在垂直于河流方向发生了侵蚀作用,并且产生了许多急流和瀑布,现今成为该处重要的旅游景点,例如:汪嫩瀑布。图1.2呵叻地貌信息
           ลำตะคองเป็นธารน้ำบรรพกาลอยู่ในพื้นที่จีโอพาร์คก่อนเกิดภูมิประเทศเควสตา เมื่อมีการยกตัวเป็นที่ราบสูงลำตะคองไหลกัดเซาะในทางลึก หมวดหินพระวิหาร และหมวดหินภูพานที่ทนทานแข็งแกร่งว่าหมวดหินอื่นจึงเหลือเป็นสันเขาเควสตา หรือเขารูปอีโต้สองสัน เมื่อมีการยกตัวครั้งสำคัญล่าสุดเมื่อกว่า 800,000 ปีก่อน เกิดการกัดเซาะชองลำน้ำนำพาตะกอนจากเขาเควสตาและพื้นที่ไกล้เคียงไปทับถมเป็นตะกอนกรวดทราย พร้อมชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์พืชสัตว์หลายชนิดหลายอายุ รวมถึงเนินตะพัก และไม้กลายเป็นหิน จาก อ.สูงเนิน-ขามทะเลสอ-เมืองนครราชสีมา-เฉลิมพระเกียรติ ดังรูปที่ 1.2 แสดงการเกิดเควสตาโคราช

#
图 1.2: 呵叻地貌信息
来源: 呵叻地质公园办公室. 2020a


           呵叻高原在崛起时帕维汉岩中和普潘岩。
           普潘岩地区包括: 堪南极山, 雅腾山, 南德山-马克山 和 普爬颂悬崖。
           帕维汉岩地区包括:爬山,咯腾山,沙巴德山,三十尚山,沙岛山,鹏山,皮地山和清山。
           พื้นที่โคราชจีโอพาร์คซึ่งถือเป็นดินแดนแห่งเขาเควสตาประกอบด้วยเควสตาหมวดหินหลักคือ เควสตาหมวดหินพระวิหารและเควสตาหมวดหินภูพาน
           เควสตาหมวดหินพระวิหารประกอบด้วย เขาขนานจิต เขายายเที่ยง เขาน้ำโดด เขาหมาก และภูผาสูง
           เควสตาหมวดหินภูพานประกอบด้วย เขาผา เขากระโดน เขาซับประดู่ เขาสามสิบส่าง ภูแสนดาว ( เขาตะกึด) เขาพริก เขาปืนแตก และเขาเขียว