ENGLISH FOR GEOTOURISM at Khorat Geopark



Khorat: World Paleontopolis/Fossils City
โคราช: มหานครแห่งบรรพชีวินหรือเมืองแห่งฟอสซิล

Khorat Geopark is not only famous for unique cuesta but also distinctive its genera of both ancient elephants and dinosaur fossils. The most diverse genera of Iguanodon dinosaurs in ASEAN is found here and ancient elephants fossils of 10 genera from a total of 55 genera in the world. For these reasons, Khorat Geopark is given the name as Khorat: World Paleontopolis/Fossils City. Interestingly(not sure about using the word ‘interestingly’, as it’s a subjective term), new world genus and species of Ape, mammal and reptile fossils were found in this area.
           นอกจากเป็นดินแดนแห่งเขาเควสตา โคราชจีโอพาร์คยังประกอบไปด้วยซากดึกดำบรรพ์พืชสัตว์ที่มีหลากหลายที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยมีการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์หลากหลายสกุลที่สุดในอาเซียน เป็นแหล่งฟอสซิลช้างหลากหลายสกุลที่สุดในโลก มี 10 สกุลใน 55 สกุลของโลก รวมถึงมีการค้นพบฟอสซิลสัตว์ในพื้นที่แห่งนี้ซึ่งเป็นพันธุ์ใหม่ของโลก โดยพบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์ใหม่ของโลกและฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพันธุ์ใหม่ของโลก จึงทำให้โคราชจีโอพาร์คได้ชื่อว่าเป็น “มหานครแห่งบรรพชีวินของโลก”

Ancient elephant genera found in Khorat Geopark
   ช้างดึกดำบรรพ์ที่พบในพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค

           The following are ancient elephant genera found in Khorat Geopark area. Khorat Geopark has the highest diversity of ancient elephant genera in the world. They are Gompotherium, Dinotherium, Tetralophodon, Zygolophodon, Protanancus, Stegodon, Elephas, Prodeinotherium, Sinomastodon and Stegolophodon. Picture 1.3 illustrates ancient elephant genera.
           ช้างดึกดำบรรพ์ที่พบในพื้นที่โคราชจีโอพาร์คมีความหลากหลายสกุลสูงสุดจากสกุลช้างดึกดำบรรพ์ทั่วโลก สกุลที่พบในพื้นที่แห่งนี้คือช้างสี่งากอมโฟธีเรียม ช้างไซโกโลโฟดอน ช้างงาจอบเล็กโปรโดโนธีเรียม ช้างงาจอบใหญ่ไดโนธีเรียม ช้างงาเสียมโปรตานันดัส ช้างไซโนมาสโตดอน ช้างสี่งาเตตระโลโฟดอน ช้างสเตโกดอน ช้างเอลิฟาส และช้างสเตโกโลโฟดอน รูปที่ 1.3 แสดงสกุลช้างโบราณที่ค้นพบในเขตพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค

#
Picture 1.3: Ancient elephant genera in Khorat Geopark area
Source: Khorat Geopark Office. 2020a

New Genus/Species in Khorat Geopark    ฟอสซิลสัตว์พันธุ์ใหม่ของโลกในพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค

           New Genera/Species of animal fossils were found in Khorat Geopark. They were dinosaurs, ape, mammal and reptiles.
           ฟอสซิลสัตว์พันธุ์ใหม่ของโลกที่ค้นพบในพื้นที่โคราชจีโอพาร์คประกอบด้วย ไดโนเสาร์ ลิงไม่มีหาง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

Dinosaur fossils
   ฟอสซิลไดโนเสาร์

           The newly found dinosaur fossils are Siamraptor suwati, Sirindhorna khoratensis, Ratchasimasaurus suranareae and Siamondon nimngami. Picture 1.4 illustrates newly found species of dinosaur fossils in Khorat Geopark area (Khorat Geopark Office. 2020).
           ฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ของโลกที่ถูกค้นพบคือ พันธุ์สยามแรปเตอร์สุวัจน์ติ สิรินธรน่า โคราชเอนซิส ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ และสยามโมดอน นิ่มงามมิ รูปที่ 1.4 แสดงฟอสซิลไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่ค้นพบในเขตพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค

Picture 1.1
Picture1.4: Dinosaur genera and new genus/species found in Khorat Geopark area
Source: Khorat Geopark Office. 2020a

Petrified wood
   ไม้กลายเป็นหิน

           Petrified wood is a type of wood fossil preserved by the process called “petrification”, meaning “to change into stone”. All the organic materials of the wood have been replaced with minerals, most often a silicate such as quartz, while retaining the original structures of the wood. Generally, the species of petrified wood can be identified by examining thin section of the fossil under a microscope and comparing to cellular structure of living species. Petrified wood is the key to the past. The study of fossil woods can give us the idea of what the ancient forest was like. Petrified wood plays important roles in this discovery.
           Highlights of Petrified Wood in Nakhon Ratchasima :
           Gemstone petrified wood
           Petrified wood found in Nakhon Ratchasima have gemstone quality such as opal, carnelian, agate, and jasper. Thailand’s largest log of opal petrified wood was found in Suranaree Sub-district where the museum is located.

           Petrified Palm Wood
           It has a prominent rod-like structure within the regular grain of the petrified wood. This well-defined rod-like structure appears as spots, tapering rods, or continuous lines making it the favorite among rock collectors. The petrified palm woods are locally rich in Nakhon Ratchasima, especially in Suranaree subdistrict but very rare elsewhere.

           Petrified Wood with various ages The petrified woods of angiosperms plants have been found in Nakhon Ratchasima. Their ages vary from the early Pleistocene (800,000 years ago) and early Cretaceous (140-120 million years ago). The country’s largest petrified coniferous wood (1.75 m in diameter) from the late Jurassic (~150 million years ago) has been found in Pak Chong district. (Petrified Wood Museum. Online. 2020).

           ไม้กลายเป็นหินเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่เก็บรักษาโดยกระบวนการที่เรียกว่า "การทำให้เป็นหิน" ซึ่งแปลว่า "เปลี่ยนเป็นหิน" วัสดุอินทรีย์ทั้งหมดของไม้ถูกแทนที่ด้วยแร่ธาตุ ส่วนใหญ่มักจะเป็นซิลิเกต เช่น ควอตซ์ ในขณะที่ยังคงโครงสร้างเดิมของไม้ โดยทั่วไปแล้วชนิดของไม้กลายเป็นหินสามารถตรวจสอบได้โดยการตรวจสอบฟอสซิลบางส่วนภายใต้กล้องจุลทรรศน์และเปรียบเทียบกับโครงสร้างเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ไม้กลายเป็นหินเป็นกุญแจไขไปสู่อดีต การศึกษาป่าดึกดำบรรพ์ทำให้เข้าใจว่าป่าโบราณเป็นอย่างไร ซึ่งไม้กลายเป็นหินมีบทบาทสำคัญในการค้นพบนี้
           ลักษณะเด่นของไม้กลายเป็นหินที่ค้นพบในจังหวัดนครราชสีมามีดังต่อไปนี้
           ไม้กลายเป็นหินอัญมณี
           ไม้กลายเป็นหินที่พบในจังหวัดนครราชสีมาเป็นไม้กลายเป็นหินอัญมณี เช่น โอปอล คาร์เนเลียน อาเกต และแจสเปอร์ ไม้กลายเป็นหินโอปอลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยถูกค้นพบในตำบลสุรนารี ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน

           ไม้กลายเป็นหินวงศ์ปาล์ม
           ไม้กลายเป็นหินวงศ์ปาล์มมีโครงสร้างท่อลำเลียงน้ำที่โดดเด่น ลักษณะภายในของไม้กลายเป็นหินมีโครงสร้างเป็นจุดในด้านหน้าตัดหรือเส้นต่อเนื่องในด้านแนวนอนทำให้เป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักสะสมหิน ไม้กลายเป็นหินวงศ์ปาล์มพบมากในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำบลสุรนารี แต่หายากมากในที่อื่น

           ไม้กลายเป็นหินหลากอายุ
           ป่าไม้กลายเป็นหินของพืชดอกแองจีโอสเปิร์มพบได้ในจังหวัดนครราชสีมา มีอายุแตกต่างกัน จากสมัยไพลโตซีนตอนต้น (800,000 ก่อน) และยุคครีเทเชียสตอนต้น (140-120 ล้านปีก่อน) ไม้สนต้นสนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ (เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.75 ม.) อายุยุคจูแรสซิกตอนปลาย (ประมาณ 150 ล้านปีก่อน) พบในอำเภอปากช่อง

#
ไม้กลายเป็นหิน
สถาบันไม้กลายเป็นหินฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา