Français POUR LE GÉOTOURISME au Géoparc de Khorat



L’utilisation de la langue การใช้ภาษา

           ในบทนี้จะกล่าวถึงการใช้ภาษา ซึ่งประกอบด้วยคำศัพท์ โครงสร้างไวยากรณ์ ข้อมูลหลักและสำนวนที่มีประโยชน์

2. Les structures grammaticales
   โครงสร้างทางไวยากรณ์

           โครงสร้างไวยากรณ์ในบทนี้จะเน้นการใช้ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (la voix passive)

2.1 ใช้ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำเพื่อเน้นกรรมตรงว่าถูกกระทำ
      ตัวอย่าง
           La statue de Bouddha couché a été construite environ au 13ème ou 14ème siècle bouddhiste.
           พระนอนถูกก่อสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 13-14

2.2 ขั้นตอนการเปลี่ยนประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ (la voix active) เป็นประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (la voix passive) มีดังนี้
           2.2.1 นำกรรมตรงของกริยาของประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำมาเป็นประธานของประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
           2.2.2 กระจายกริยา être ในกาลเดียวกับกริยาในประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ
           2.2.3 กระจายกริยาแท้ของประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำในรูปของ participe passé
           2.2.4 ทำ participe passé ให้เป็นเพศ และพจน์เดียวกับประธานของประโยคใหม่ ดังนี้
                     2.2.4.1 เพศชายเอกพจน์ ไม่ต้องเติมอะไร
                     2.2.4.2 เพศหญิงเอกพจน์ เติม e
                     2.2.4.3 เพศชายพหูพจน์ เติม s
                     2.2.4.4 เพศหญิงพหูพจน์ เติม es
           2.2.5 เติมบุพบท par แต่ถ้าเป็นกริยาบางตัว เช่น accompagner aimer border couvrir décorer entourer orner remplir suivre จะเติมบุพบท de หาก On เป็นประธานของประโยคเดิมไม่ต้องเติม par on
           2.2.6 จากนั้นวางประธานของประโยคเดิมไว้หลังบุพบท กรณีของบุพบท de หากประธานเป็นคำนามนับไม่ได้ ต้องเป็นคำนามเอกพจน์เสมอ หากเป็นคำนามนับได้ต้องเป็นคำนามพหูพจน์เสมอ และบุพบท de ลดรูปเป็น d’ เมื่อถูกตามด้วยคำนามที่ขึ้นต้นด้วยสระหรือ h muet
      ตัวอย่าง
           Le royaume était gouverné par les rois de la dynastie Phakkhathat.
           ราชอาณาจักรถูกปกครองโดยกษัตริย์ของราชวงศ์ภคทัตต์