Français POUR LE GÉOTOURISME au Géoparc de Khorat



L’utilisation de la langue การใช้ภาษา

           ในบทนี้จะกล่าวถึงการใช้ภาษา ซึ่งประกอบด้วยคำศัพท์ โครงสร้างไวยากรณ์ ข้อมูลหลักและสำนวนที่มีประโยชน์

2. Les structures grammaticales
   โครงสร้างทางไวยากรณ์

           โครงสร้างไวยากรณ์ในบทนี้จะเน้นการใช้กริยาในรูปอดีต คือ Passé composé และ Imparfait

2.1 ใช้กริยาในรูปอดีต คือ Passé composé และ Imparfait ดังนี้
           Passé composé ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้ว
           Imparfait ใช้กับการกระทำที่เป็นนิสัยหรือทำเป็นระยะเวลาหนึ่ง ใช้บรรยายเหตุการณ์ บุคคล สภาพอากาศที่เกิดขึ้นในอดีต
      ยกตัวอย่าง เช่น
           Les artisans d’Ayutthaya, les ouvriers de Korat et de Sema ont bâti les portes et les remparts de la ville. (Passé composé)
           Cette tour servait à commander la bataille. (Imparfait)




2.2 วิธีการทำประโยคให้เป็น Passé composé และ Imparfait มีหลักการดังนี้
           2.2.1 ทำประโยคให้เป็น Passé composé ได้ด้วยการผันกริยา être / avoir (กริยาช่วย) ใน temps présent (กาลปัจจุบัน) + participe passé (กริยาแท้)
      ยกตัวอย่าง เช่น Thao Surananee est décédée en 1852.
           Le Grand Roi Narai a ordonné la construction de Nakhon Ratchasima comme ville d’avant-poste en 1656.

           2.2.2 ทำประโยคให้เป็น Imparfait ได้ด้วยการผันกริยากับประธาน nous ใน temps présent (กาลปัจจุบัน) แล้วตัด o¬ns ทิ้ง แล้วเติมส่วนท้ายดังนี้ -ais,-ais,-ait,-ions,-iez,-aient
      ยกตัวอย่าง เช่น
           Ayutthaya était la capitale de la Thaïlande.




2.3 กรณียกเว้น
           2.3.1 ใน Passé composé กริยาที่ใช้ v.être เป็นกริยาช่วย ตัว participe passé (กริยาแท้) จะ accord ตามเพศและพจน์ของประธาน ด้วยการเติม
                     e ประธานเพศหญิงเอกพจน์
                     s ประธานเพศชายพหูพจน์
                     es ประธานเพศหญิงพหูพจน์
      ยกตัวอย่าง เช่น
           On présume que la culture s’est répandue à travers la diffusion du bouddhisme. Thao Surananee est décédée en 1852.

           2.3.2 ใน Imparfait จะมีกริยาที่ไม่เป็นไปตามหลักการปกติ นั่นคือ v.être (nous sommes)
      ยกตัวอย่าง เช่น
           C’était (v.être) la période de la forte et influente colonisation de l’Occident.




2.4 การทำรูปประโยคให้เป็นปฏิเสธ โดยทั่วไปจะใช้ ne…pas คร่อมกริยา (ne + v. + pas) แต่ใน Passé composé และ Imparfait มีหลักการดังนี้
           2.4.1 ใน Passé composé จะใช้ ne…pas คร่อมกริยา être / avoir (กริยาช่วย) + participe passé (กริยาแท้) แต่ถ้ากริยานั้นขึ้นต้นด้วยสระหรือ h muet รูปปฏิเสธ ne จะลดรูปเป็น n’
      ยกตัวอย่าง เช่น
           Thao Surananee n’est pas décédée en 1852.
           Le Grand Roi Narai n’a pas ordonné la construction de Nakhon Ratchasima comme ville d’avant-poste en 1656.

           2.4.2 ใน Imparfait จะใช้ ne…pas คร่อมกริยา แต่ถ้ากริยานั้นขึ้นต้นด้วยสระหรือ h muet รูปปฏิเสธ ne จะลดรูปเป็น n’
      ยกตัวอย่าง เช่น
           Cette tour ne servait pas à commander la bataille.
           Ayutthaya n’était pas la capitale de la Thaïlande.




2.5 การทำรูปประโยคคำถามแบบมี question words (Les mots interrogatifs) ใน Passé composé และ Imparfait
           2.5.1 รูปประโยคคำถามแบบมี question words (Les mots interrogatifs) ใน Passé composé มี 3 รูปแบบ ดังนี้

1) ประธาน + กริยาช่วย + participe passé + mot interrogatif + ? เช่น
           A : Thao Surananee est décédée quand ?
           B : Elle est décédée en 1852.
2) mot interrogatif + est-ce que + ประธาน + กริยาช่วย + participe passé + ? เช่น
           A : Quand est-ce que Thao Surananee est décédée ?
           B : Elle est décédée en 1852.
3) mot interrogatif + กริยาช่วย - ประธาน + participe passé + ? เช่น
           A : Quand Thao Surananee est-elle décédée ?
           B : Elle est décédée en 1852.

           2.5.2 รูปประโยคคำถามแบบมี question words (Les mots interrogatifs) ใน Imparfait มี 3 รูปแบบ ดังนี้

1) ประธาน + กริยา + mot interrogatif + ? เช่น
           A : Il servait à quoi autrefois?
           B : Il servait de pavillon d’habillement.
2) mot interrogatif + est-ce que + ประธาน + กริยา + ? เช่น
           A : À quoi est-ce qu’il servait autrefois ?
           B : Il servait de pavillon d’habillement.
3) mot interrogatif + กริยา - ประธาน + ? เช่น
           A : À quoi servait-il autrefois ?
           B : Il servait de pavillon d’habillement.




2.6 การทำรูปประโยคคำถามแบบ yes/no questions (oui/non) ใน Passé composé และ Imparfait
           2.6.1 รูปประโยคคำถามแบบ yes/no questions (oui/non) ใน Passé compose มี 3 รูปแบบ ดังนี้

1) ประธาน + กริยาช่วย + participe passé + ? เช่น
           A : Elle est décédée en 1850 ?
           B : Non, elle n’est pas décédée en 1850.
2) Est-ce que + ประธาน + กริยาช่วย + participe passé + ? เช่น
           A : Est-ce qu’elle est décédée en 1850 ?
           B : Non, elle est décédée en 1852.
3) กริยาช่วย - ประธาน + participe passé + ? เช่น
           A : Est-elle décédée en 1852 ?
           B : Oui, elle est décédée en 1852.

           2.6.2 รูปประโยคคำrelถามแบบ yes/no questions (oui/non) ใน Imparfait มี 3 รูปแบบ ดังนี้

1) ประธาน + กริยา + ? เช่น
           A : Ce site était de religion hindoue ?
           B : Oui, il était de religion hindoue.
2) Est-ce que + ประธาน + กริยา + ? เช่น
           A : Est-ce que ce site était de religion hindoue ?
           B : Oui, il était de religion hindoue.
3) กริยา - ประธาน + ? เช่น
           A : Ce site était-il de religion hindoue ?
           B : Oui, il était de religion hindoue.