Français POUR LE GÉOTOURISME au Géoparc de Khorat



Le sanctuaire de Phanom Wan
ปราสาทหินพนมวัน

           Le temple khmer ou Prasat Phanom Wan est situé à Ban Makha, sous-district de Ban Pho, à environ 15 kilomètres de la ville sur la route Nakhon Ratchasima-Khon Kaen. Un panneau à droite indique aux touristes une route de 5 kilomètres à suivre pour arriver jusqu’au site. Il est ouvert tous les jours de 7h00 à 18h00.
           Ce sanctuaire khmer est incontournable. On pense que Prasat Phanom Wan a été construit au XVe siècle bouddhiste et rénové au cours des XVIIIe et XIXe siècles (un bâtiment en pierre a été construit dessus). Ce site de religion hindoue est devenu plus tard un site de rituel bouddhiste. Bien que la majeure partie de l'endroit ait été détruite, la pagode principale et une autre pagode à plusieurs niveaux subsistent. Le sanctuaire est entouré d'une passerelle en grès et d'un mur en latérite. La zone sud-ouest a une pagode en grès appelée « Prang Noi » avec une grande statue de Bouddha à l'intérieur. En dehors de la zone se trouve un Gopura (une porte de sanctuaire ou un porche) sous la forme d'une haute tour dans quatre directions. Le côté à l’est du sanctuaire présente la trace d'un fossé et d'une colline appelée « Noen Oraphim ». L'image 2.17 l’illustre le sanctuaire de Phanom Wan (TAT. En ligne. 2020b).

           ปราสาทหินพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ ถนนสายโคราช-ขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมในคติความเชื่อของเขมรโบราณ สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นเทวสถาน ต่อมาภายหลังดัดแปลงเป็นพุทธสถาน เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย
           ตัวปราสาทหินพนมวันสร้างเป็นปรางค์มีฉนวน (ทางเดิน) ติดต่อกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมยาว 25.50 เมตร กว้าง 10.20 เมตร พระปรางค์มีประตูซุ้ม 3 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย 1 องค์ ลักษณะศิลปะแบบอยุธยา รอบปราสาทเป็นลานกว้างมีระเบียงคดก่อด้วยหินกว้าง 54 เมตร ยาว 63.30 เมตร ประกอบด้วยประตูทางเข้า 4 ทิศ ทางด้านทิศตะวันออกมี "บาราย" หรือสระน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชน เรียกว่า "สระเพลง" ซึ่งยังคงสามารถใช้ประโยชน์ได้ถึงปัจจุบัน
           ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงเรียกว่า "ปรางค์น้อย" ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ บริเวณโดยรอบปราสาทมี ระเบียงคต สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงล้อมเป็นกำแพงอยู่ ประตูทางเข้าเทวสถาน มีซุ้มประตูสลักหินทรายขนาดเล็กก่อสร้างเป็นรูปหอสูงทั้งสี่ทิศ บริเวณรอบนอกปราสาททางด้านทิศตะวันออกห่างจากโบราณสถานเกือบ 300 เมตร มีร่องรอยของคูน้ำและเนินดิน เรียกกันแต่เดิมว่า "เนินนางอรพิมพ์" หรือ "เนินอรพิม"
           นอกจากนี้ยังพบศิลาแลงจัดเรียงเป็นแนวคล้ายซากฐานอาคารบนเนินแห่งนี้ด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น "พลับพลาลงสรง" ในรูปแบบพิเศษที่ไม่เคยพบในที่อื่น ๆ ของประเทศไทย อาจใช้เป็นเรือนสำหรับรับรองเจ้านายหรือเป็นวังของผู้ปกครองเมืองพนมวัน แล้วก็เป็นพลับพลาพระตำหนักรับเสด็จพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือผู้แทนพระองค์ที่น่าจะเดินทางมาถึงปราสาทพนมวันในพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อถวายพระพุทธรูปพระชัยพุทธมหานาถ และจากการขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร ทำให้เรารู้ว่าปราสาทหินพนมวันสร้างขึ้นจนเป็นยอดปราสาทโดยสมบูรณ์แต่ก็พังทลายแบบถล่มลงมาอย่างรุนแรงทำให้ชิ้นส่วนรูปสลักที่มีอยู่ไม่มากนักกระทบกันจนแตกหัก เรือนยอดปราสาทแตก ปราสาทหินพนมวันเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 รูปที่ 2.17 ภาพประกอบปราสาทหินพนมวัน (ททท. ออนไลน์. 2563b)


Image 2.17. Le sanctuaire de Phanom Wan. (รูปที่ 2.17 ปราสาทหินพนมวัน)
Source: Pixabay. En ligne, 2020. (ที่มา: Pixabay ออนไลน์. 2563)