旅游汉语 呵叻地质公园



门河竹筏漂流
ล่องเรือแพแลลำมูล

           漂流的码头位于呵叻府差隆帕恰县踏昌镇12组新村兰塞码头,有三艘船供游客使用。每艘船可容纳约15人。门河竹筏漂流是考察门河两岸自然风光与生活习俗的重要路线。在接近门河与塔孔河交汇处的塔昌镇发现了多达10多种远古大象化石,种类位居世界之最,全世界共有55个种属。例如四齿象、锄齿象、铲齿象、剑齿象。此外还发现了其它年代久远的动物化石,距今约1万至1600万年。例如:无角犀牛、短脖长颈鹿、大猩猩、河马、爪兽类动物、剑齿虎、古代野猪、巨龟。踏昌码头是过去重要的码头,许多轮船装载货物及船客沿着门河和往返于呵叻府与乌汶府之间。漂流所用游船按照拉玛六世王时期古船设计。目前漂流项目起始点位于美丽的榕树景区,途经古船、巴巴卡姆沙场、远古大象、铁路黑桥和拉玛六世王纪念碑等景区。

           ท่าล่องแพ ตั้งอยู่ที่ท่าลานไทร บ้านใหม่ หมู่ที่ 12 ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีเรือบริการนักท่องเที่ยว จำนวน 3 ลำ บรรจุนักท่องเที่ยวได้ลำละประมาณ 15 ที่นั่ง เป็นเส้นทางท่องเที่ยวศึกษาธรรมชาติและวิถีชีวิต 2 ฝั่งมูล ในบริเวณใกล้จุดบรรจบกับลำตะคอง ในเขตตำบลท่าช้างซึ่งเป็นแหล่ง ที่พบฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์หลากหลายสายพันธุ์ที่สุดในโลก ถึง 10 สกุลจาก 55 สกุลที่พบทั่วโลก เช่น ช้างสี่งา ช้างงาจอบ ช้างงาเสียม ช้างสเตโกดอน รวมทั้งสัตว์อื่น ๆ ที่ร่วมสมัยกันต่อเนื่อง ยาวนาน ในช่วง 16-0.01 ล้านปีก่อน เช่น แรดไร้นอ ยีราฟคอสั้น อุรังอุตัง ฮิปโป ชาลิโคแธร์ เสือเขี้ยวดาบ หมูป่าโบราณ เต่ายักษ์ การล่องเรือใช้แนวคิดเรือโบราณสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ท่าช้าง ซึ่งเป็นท่าเรือกลไฟสำหรับลากจูงเรือบรรทุกสินค้าและผู้คนไปมา ระหว่างนครราชสีมากับอุบลราชธานีตามเส้นทางลำมูล สำหรับจุดจอดแวะในเส้นทางท่องเที่ยวทางเรือเริ่มจากไทรงาม แหล่งเรือโบราณ บ่อทรายปากปะคาม โขลงช้างดึกดำบรรพ์ สะพานดำรถไฟและอนุสรณ์สถาน ร.6 เป็นต้น

           在接近门和与塔孔河交汇处河渠下发现了一块木化石,该木化石是首个被以纪念碑形式保护起来的木化石,而且是世界上唯一一个与国王有关的木化石。据说1921年泰国拉玛六世王曾亲自去巡视门和跨河大桥工程。工程师披耶.拉拍普布里帕和广大民众一起将此木化石敬献给国王陛下,国王建议将其保护起来。于是在该木化石的发现地,建造了一座六世王纪念碑,并将上述木化石放置于纪念碑上,至今仍然保存完好。木化石
           纪念碑位于差隆帕恰县门河跨河铁路大桥旁,该桥又叫黑桥。(科勒地质公园网站2020)图4.1门河铁路大桥和拉玛六世王纪念碑
           ไม้กลายเป็นหินจากท้องร่องแม่น้ำมูลใกล้จุดบรรจบลำตะคอง นับเป็นไม้กลายเป็นหินต้นแรกที่ได้รับการอนุรักษ์ในรูปแบบอนุสรณ์สถานและสัมพันธ์กับสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งเดียวของโลก กล่าวคือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 ได้เคยเสด็จไปตรวจการก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำมูล เมื่อ พ.ศ. 2464 พระยาราไพพงศ์บริพัตรวิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างและชาวบ้าน ได้ถวายไม้กลายเป็นหินจากท้องร่องแม่น้ำมูลให้กับพระองค์ แต่พระองค์ทรงแนะให้เก็บรักษาไว้ใน ท้องที่ที่พบจึงมีการก่อสร้างอนุสรณ์สถานการเสด็จและนำไม้กลายเป็นหินดังกล่าว จัดไว้บนอนุสรณ์สถานนั้น ซึ่งยังคงมีอยู่ตราบกระทั่งปัจจุบัน อนุสรณ์สถานไม้กลายหิน ณ สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำมูล จุดที่เรียกว่า “สะพานดำ” อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (อุทธยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563) รูปที่ 4.1 ภาพประกอบ สะพานข้ามรถไฟลำแม่น้ำมูล


图4.1门河铁路大桥和拉玛六世王纪念碑(来源:科勒地质公园网站2020)
ภาพที่ 4.1 สะพานข้ามรถไฟลำแม่น้ำมูลและอนุสรณ์สถานีไม้กลายหิน ร.6 (ที่มา: อุทธยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563)

           差隆帕恰县起初只是门河沿岸一个古老的小村庄,原名踏昌村,因为具有沿河的地理优势所以经济发达。原先来自湄公河、池河的货轮都在踏昌卸货,因此踏昌成为呵叻府重要的港口。但是过去因为交通不发达,所以运送货物相对困难,主要靠大象运输,所走的路线也经常有野象出没觅食,或有驯象师带领大象从门河西岸跨河到东岸。这便是踏昌村的由来,意为大象码头。
           之后拉玛五世王时期修建了从曼谷至呵叻府的东北部第一条铁路,但交通运输仍不太发达。1917年拉玛六世王下令建造了从呵叻至乌汶的铁路,还修建了门河跨河大桥。这对河运产生了巨大的影响,尤其是铁路建成通车后,河道运输的货轮逐渐减少,因为货物可以在踏昌火车站卸载并快速分送到各城市。踏昌于1996年12月5日改名为差隆帕恰县。 图4.2漂流图片 (来源:呵叻地质公园网站2020)

           เดิมอำเภอเฉลิมพระเกียรติเป็นชุมชนเก่าแก่เล็กๆ ที่มีความเจริญแห่งหนึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล เรียกว่า หมู่บ้านท่าช้าง เนื่องจากสถานที่ตั้งบ้านเรือนตั้งอยู่บริเวณชุมทางน้ำ ในอดีตท่าช้าง เป็นเมืองขนถ่ายสินค้าจากเรือกลไฟที่แล่นมาจากแม่น้ำโขงและแม่น้ำชี ทำให้ความสำคัญในระดับเมืองท่าของมณฑลนครราชสีมา แต่การขนถ่ายสินค้าในอดีตกระทำได้ด้วยควายากลำบาก เนื่องจากไม่มีถนนหนทางสะดวกเช่นปัจจุบัน ส่วนใหญ่ใช้ช้างเป็นพาหนะในการขนถ่ายสินค้าเป็นสำคัญ ประกอบกับเป็นเส้นทางของช้างป่าที่ลงมาหากินยังบริเวณชุมทางน้ำเพราะความสมบูรณ์ของป่าและอยู่ในเส้นทางการเดินทางของช้างและขวาญช้างข้ามลำน้ำมูลจากฝั่งตะวันตกไปมากับฝั่งตะวันออก จึงถูกเรียกว่า "ท่าช้าง"
           ต่อมาในสมัยราชกาลที่ 5 ได้สร้างทางรถไฟสายแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ก็ยังไม่สะดวกในการขนถ่ายสินค้าเท่าใดนัก พ.ศ. 2460 ในสมัยราชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าให้สร้างทางรถไฟต่อจากเมืองนครราชสีมา - อุบลราชธานี พร้อมกับสร้างสะพานข้ามแม่น้ำมูลทำให้ส่งผลกระทบกับการขนถ่ายสินค้าทางเรือ โดยเฉพาะเมื่อทางรถไฟสร้างเสร็จและเปิดดำเนินการ การขนถ่ายสินค้าทางเรือกลไฟจึงปิดกิจการลง เพราะสินค้าสามารถขึ้นลงได้ที่สถานีรถไฟท่าช้าง รวมทั้งสามารถส่งไปยังเมืองต่าง ๆ ได้สะดวกรวดเร็ว สุขาภิบาลท่าช้างจึงได้เป็นอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539 (ที่มา: อุทธยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563) รูปที่ 4.2 ภาพประกอบล่องเรือ


图4.2漂流图片 ภาพที่ 4.2 ล่องเรือ
来源:呵叻地质公园网站2020 ที่มา: อุทยานธรณีโคราช ออนไลน์ ปี 2563